แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา

Authors

  • ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • อุทิศ สังขรัตน์ ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Keywords:

แนวทางพัฒนา, วิสาหกิจชุมชน, ลุ่มทะเลสาบสงขลา, Development Guideline, Small and Micro Community, Enterprises, Songkhla Lake Basin

Abstract

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา โดยผู้วิจัยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 32 ราย ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบ Snowball sampling และการสนทนากลุ่มด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 9 ท่าน เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการ วิเคราะห์เชิงบรรยาย และการวิเคราะห์บริบทของเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าจุดแข็งของวิสาหกิจชุมชนคือ มีวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อใช้ในการผลิต แรงงานมีเพียงพอ จุดอ่อนคือด้านการตลาดส่วนโอกาสคือความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและความนิยมของลูกค้าในผลิตภัณฑ์จากสินค้าที่ผลิตด้วยฝีมือแรงงาน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่สำคัญคือ ความรู้ด้านการตลาดและการบริหารจัดการ โดยแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน จะต้องอาศัยการพัฒนาโดยการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การฝึกอบรม และการพัฒนาภายในองค์กรวิสาหกิจชุมชนเอง เช่น การแสวงหาความรู้และทักษะด้านการตลาด การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการด้านต่างๆ

 

Development Guidelines for Small and Micro Community Enterprises in Songkhla Lake Basin

The purpose of this paper is to study strength, weakness, opportunity, and threat of small and micro community enterprises in the Songkhla Lake Basin and to seek for development guidelines for the operation of small and micro community enterprises in the Songkhla Lake Basin. Researchers did in-depth interviews with 32 entrepreneurs by using the snowball sampling technique. In addition, researchers also used the focus group technique by inviting nine experts, including entrepreneurs and government agencies, to analyze the development of community enterprises. From this study, we found that the strength of small and micro community enterprises is that they can find raw materials for production in their community, and they also have sufficient labor while their weakness is a lack of marketing. Their opportunities lie in the support from government agencies and customers’ preference for handicraft products. However, they face the threat of a lack of knowledge in terms of marketing and management. In addition, in relation to the development of guidelines for the operation of small and micro community enterprises, the state agency is an important unit in developing and supporting community enterprises by providing training. The development also depends on internal development of their small and micro community enterprises themselves such as improving marketing knowledge and skills, industrial standard, product design, risk management, and all aspect of management and administration.

Downloads

How to Cite

ณ สกลนคร ธ. พ., & สังขรัตน์ อ. (2014). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 10(1), 97–122. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85711