คตินิยมสมัยใหม่กับเพศวิถี: กรณีศึกษาเฟื่องนครของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์กับเพื่อนหนุ่ม
Keywords:
คตินิยมสมัยใหม่, เพศภาวะ, เพศวิถี, วรรณกรรมไทยสมัยใหม่, เรื่องสั้น, modernism, gender, sexuality, modern Thai literatures, short storiesAbstract
บทความเรื่อง คตินิยมสมัยใหม่กับเพศภาวะและเพศวิถี : กรณี ศึกษาเฟื่องนครของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ กับเพื่อนหนุ่ม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคตินิยมสมัยใหม่กับเพศภาวะและเพศวิถีในเรื่องสั้น เฟื่องนครของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ กับเพื่อนหนุ่ม ผลการศึกษาพบว่า เรื่องสั้นที่ปรากฏในเฟื่องนครเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของคตินิยมสมัย ใหม่นั้นมีความเป็นปฏิทรรศน์ระหว่างงานที่ล้ำยุคของนักเขียนหญิงที่ ต้องการอิสระในการแสดงออกทางเพศกับการ “ติดกับ” อยู่ในบ่วงของ ปิตาธิปไตย ส่วนงานเขียนของนักเขียนชายชี้ให้เห็นการกดขี่ผู้หญิงใน ทางเพศวิถีโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่ด้อยกว่าทางชนชั้น สถานภาพ และเชื้อชาติ ผู้หญิงเป็นเพศที่ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่มีคุณค่าเพียงพอที่จะได้ รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ดังนั้น แม้ในยุคสมัยใหม่ในทศวรรษ 2510 สังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและดูเหมือนว่าผู้หญิง จะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและโอกาสในทางการเมืองและ เศรษฐกิจมากขึ้น แต่ความเหลื่อมล้ำทางเพศก็ยังดำรงอยู่ในรูปลักษณ์ ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิมGender and Sexuality in Modernism Aspect: a Case Study of Fuang Nakorn short stories by ’Rong-Wong-Savun and Puan Noom
The purpose of this article is to study the relationship between modernism, gender, and sexuality in Fueng Nakorn short stories by ‘Rong Wong-Savun and Puen Noom. It is found that the short stories in Fueng Nakorn collection, which is one of modernism phenomena, shows a paradox between avant-garde writings of female authors who seek for freedom in expressing their sexuality and their state of being trapped in patriarchal society. As for male writers’ works, they reveal gender oppression of women, especially those who are inferior in terms of class, status, and race. Women had less dignity as well as value and were treated unequally. Therefore, even though Thai society in the decade of 2510 B.E. changed dramatically and women seemed to have freedom of expression and more opportunities in politics and economy, gender disparity still remains in a more complex aspect.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี