พฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาชายในหอพัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Authors

  • ทวีพงษ์ ยุนุ๊ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เพ็ญพักตร์ ทองแท้ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

พฤติกรรมการใช้ชีวิต, นักศึกษาชาย, หอพัก, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, Lifestyle Behaviors, Male Students, Dormitory, Prince of Songkla University, Pattani Campus

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาชายในหอพัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากประชากรที่เป็น นักศึกษาชาย จำนวน 426 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และ สนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (one-way anova) และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า

1. นักศึกษาในหอพักส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะ ศึกษาศาสตร์ มีภูมิลำเนาในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี มีสัดส่วนสูงสุด คือ ร้อยละ 38.7 นับถือศาสนาอิสลาม ได้รับเงินจาก ครอบครัวต่อเดือนประมาณ 1,001-2,000 บาท และรายได้ของ ครอบครัวต่อเดือน อยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท

2. ระดับความคิดเห็นต่อลักษณะหอพักทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน การจัดบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสภาพแวดล้อม และ ด้านความปลอดภัย มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง

3. พฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาหอพักทั้ง 4 ด้านส่วน ใหญ่ พบว่า 1) ด้านกิจวัตรส่วนตัว รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ใช้ จ่ายค่าอาหารวันละ 51-100 บาท เลือกซื้ออาหารรับประทานจาก โรงอาหารของมหาวิทยาลัย นิยมดื่มนม โกโก้ น้ำปั่น และรับประทาน ขนมกรุบกรอบ วันปกติตื่นนอนและเข้านอน เวลา 07.00-07.59 น. และ 23.00-23.59 น. สำหรับวันหยุดตื่นนอน เวลา 05.00-05.59 น. เพราะต้องเดินทางกลับบ้าน และเข้านอน เวลา 00.00-00.59 น. นอนหลับโดยเฉลี่ย วันละ 7 ชั่วโมง มักเลือกคบเพื่อนที่มาจากโรงเรียน เดียวกัน กิจกรรมที่ทำร่วมกับเพื่อน คือ ติวหนังสือ อ่านหนังสือ และ ทำการบ้าน 2) ด้านการใช้เวลาว่างส่วนใหญ่พักผ่อน นอนหลับ 3) ด้านการปรับตัว และ 4) ด้านการใช้เวลาในการเรียน ทั้ง 2 ด้านนี้ มีการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

4. การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ชั้นปี คณะที่ศึกษาศาสนารายได้ต่อเดือนที่ได้รับจากครอบครัวที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อพฤติกรรม การใช้ชีวิตในหอพักด้านการปรับตัว และการใช้เวลาในการเรียนที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05

5. ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัว และการใช้เวลาในการเรียนของ นักศึกษาหอพัก พบว่า ตัวแปรศาสนา และตัวแปรสภาพแวดล้อม มี ผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตในหอพักด้านการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตัวแปรสภาพแวดล้อม มีผลต่อการใช้ เวลาในการเรียนของนักศึกษาหอพักมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Lifestyle Behaviors of Male Students in Prince of Songkla University Dormitory, Pattani Campus

This research aims to study lifestyle behaviors and factors affecting lifestyle behaviors of male students in Prince of Songkla University dormitory, Pattani Campus. The populations used in this research covers 426 male students. The tools for data collection are questionnaire and focus group discussion. Data analysis is made on descriptive statistics, one - way anova and multiple regression analysis. From the study, it is found that

1. Most of students who live in university dormitory are the 1st year Muslim students of Faculty of Education. Their hometowns are in five southernmost provinces of Thailand and Pattani is the most (38.7%). They get money from their family about 1,001– 2,000 Baht per month while total monthly household income about 10,001 – 20,000 baht.

2. The opinion level towards 3 qualities of dormitory; service, facility and environment in overall are at medium level.

3. For 4 aspects of dormitory students’ lifestyle behaviors; the first aspect, routine, they pay 51–100 baht for 3 meals at canteen in campus. They like to drink milk, cocoa and smoothie and eat snack. They wake up at 07.00–07.59 a.m. and go to bed at 11.00–11.59 p.m. in weekday while they wake up at 05.00–05.59 a.m. because of going back home and go to bed at 00.00-00.59 a.m. in weekend. They sleep 7 hours a day. Their friends always come from same high school and the activities that they do together are tutoring, reading books and doing homework. The second, spending leisure time, they always take a rest and sleep. The third and the forth, adapting and spending time to study in overall are at high level.

4. Hypothesis Testing is found that the difference of year, faculty, religion and monthly income from family do not affect to lifestyle behavior in adapting and spending time to study aspect at significant statistical level of 0.05.

5. The factors that affecting to adapting and spending time to study are found that religion and environment variable affects to adapting at significant statistical level of 0.05 while environment variable affects to spending time to study at significant statistical level of 0.05.

Downloads

How to Cite

ยุนุ๊ ท., & ทองแท้ เ. (2014). พฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาชายในหอพัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 10(2), 227–248. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85704