การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี

Authors

  • ครองชัย หัตถา ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

อ่าวปัตตานี, การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่ง, Change in Shoreline, Pattani Bay

Abstract

งานวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลบริเวณ พื้นที่รอบอ่าวปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกหน่วยธรณีสัณฐาน บริเวณชายฝั่งทะเลรอบอ่าวปัตตานี อธิบายพัฒนาการของชายฝั่งใน อดีต และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเล ระหว่างปี 2512- 2545 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แผนที่ ภูมิประเทศ แผนที่ดิน ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และ การศึกษาสำรวจภาคสนาม การประมวลผลข้อมูลและจัดทำแผนที่ ด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม ArcView และโปรแกรม MapInfo และนำ เสนอเป็นเอกสารรายงานการวิจัย (Research Report) ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่รอบอ่าวปัตตานีประกอบด้วยหน่วยธรณีสัณฐานที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำของทะเล รวม 5 หน่วย ได้แก่ หาดทราย (sand beach) สันทราย (sand ridge) ที่ลุ่มระหว่างสันทราย (old and recent lagoon) ที่ลุ่มน้ำทะเลขึ้นถึง (tidal flat) และที่ลุ่มน้ำทะเลเคยขึ้นถึง (former tidal flat) มีพื้นที่รวม 507.90 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 59.3 ของ พื้นที่ที่ศึกษา การเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2512-2545 พบว่า ชายฝั่ง มีพื้นที่ถูกกัดเซาะ 3.342 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทับถม 8.385 ตาราง กิโลเมตร การเปลี่ยนแปลงสุทธิมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 5.043 ตารางกิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.153 ตารางกิโลเมตรต่อปี โดยระหว่างปี 2529- 2545 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงสุทธิสูงกว่าระหว่างปี 2512-2529 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสร้างเขื่อนดักทราย (groin) ที่ปลายแหลม โพธิ์และการทิ้งตะกอนการจากขุดลอกร่องน้ำปากแม่น้ำปัตตานี ที่มี การดำเนินการระหว่างปี 2539-2540 บริเวณที่มีการกัดเซาะรุนแรง ได้แก่ บ้านตาโละสะมิแลและบางตาวา มีการป้องกันชายฝั่งโดยใช้กอง หิน (riprap) และกำแพงชายฝั่ง (seawall) ซึ่งสามารถป้องกันการกัด เซาะได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณข้างเคียงเพิ่ม ขึ้น ชายฝั่งเป็นพื้นที่ธรณีสัณฐานที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัตสูง จึง ควรมีการศึกษาวิจัยและติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้มีข้อมูลที่ดีสำหรับการป้องกันชายฝั่งและการวางแผนการใช้ที่ดิน ชายฝั่งทะเลอย่างเหมาะสม

 

Change in Shoreline around Pattani Bay

This study aims (1) to classify landforms of the shore around Pattani Bay, (2) to investigate the development of the shore in the past, and (3) to study change of the shore during 1969-2002. This survey research was conducted by analyzing topographic map, soil map, aerial photographs, and satellite images. It also includes fieldwork, data processing, maps created in ArcView and MapInfo Programs, research reports. The study reveals that the area around Pattani Bay consists of 5 types of landform; sand beach, sand ridge, old and recent lagoon, tidal flat, and former tidal flat. The total area is 507.90 square kilometers which is 59.3% of the studied area. As for the change during 1969-2002, it was found that there were 3.342 square kilometers of eroded area and 8.385 square kilometers of depositional area. The net change showed 5.043 square kilometers of increased area size, 0.153 square kilometers per year. The net change during 1986-2002 was higher than that during 1969- 1986. Partially, this phenomenon might be resulted from groin at Laem Poh and deposit from channel excavation in Pattani estuary, during 1996-1997. The intensely eroded areas were in Baan talohsamilae and Bang Tawa. There were ripraps and seawalls which could protect the shore from erosion to some extent. However, they caused the increasing erosion in neighboring area. Shores are landforms with high level of dynamic change; therefore, it is essential to study the change continuously in order to gain sufficient information for shore protection and proper coastal land use planning.

Downloads

How to Cite

หัตถา ค. (2014). การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 10(2), 193–225. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85673