กลวิธีกับโครงสร้างที่สื่อนัยการข่มขืนของนวนิยายไทย

Authors

  • วรรณนะ หนูหมื่น ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

กลวิธีกับโครงสร้าง, การข่มขืน, นวนิยายไทย, rapes, techniques and structures, Thai novel

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีกับโครงสร้างที่สื่อ นัยการข่มขืนของนวนิยายไทย ผลการศึกษาพบว่านวนิยายตั้งแต่หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงต้นทศวรรษ 2550 มีโครงสร้างต่อการเสนอ ประเด็นข่มขืนที่น่าสนใจคือ นักเขียนชายทุกคนในของเขตการวิจัยต่าง เห็นใจนางเอกที่ถูกย่ำยี ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับนักเขียนหญิงส่วน ใหญ่ จะมีก็แต่งานแนวรักพาฝันและเรื่องเล่าชีวิตรักร่วมเพศเท่านั้น ที่ นักเขียนหญิงทั้งหลายยังคงรูปแบบความหมายชายหญิง ตามเงื่อนไข ของบทประพันธ์ที่ยังชูระบบปิตาธิปไตยและความสัมพันธ์ต่างเพศ

ทั้งนี้ กลวิธีหลักที่ใช้ประกอบสร้างความหมายของมนุษย์ เหล่าผู้แต่งได้แสดงแง่มุมผ่าน 1)สัญลักษณ์ของโลกธาตุเพื่อเทียบ เคียงกับธรรมชาติของมนุษย์ 2)รูปแบบของอุปลักษณ์ทั้งประเภทที่ เน้นความสำคัญของสตรีและบทบาทของบุรุษ 3)วัจนปฏิบัติศาสตร์ที่ แสดงสถานะของชายหญิง องค์ประกอบทั้ง 3 นี้มีโครงสร้างที่มุ่งสื่อว่า มนุษย์ต่างก็ซ่อนเร้นทั้งความอ่อนแอและเข้มแข็งไว้ในตัว ธรรมชาติของคนจึงผนวกรวมขึ้นจากลักษณะทั้งฝ่ายชายและหญิง ด้วยเหตุผล หลักข้อนี้ ประเด็นการข่มขืนก็ปรากฏนัยสำคัญ ที่เหล่าผู้แต่งไม่ได้มุ่ง โจมตีหญิงหรือชายเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่กลับมองเรื่องเพศอย่าง ลึกซึ้งว่าเป็นทั้งสัญชาตญาณสนองการมีชีวิต และขณะเดียวกันความ ก้าวร้าวที่เห็นในการข่มขืนก็คือสัญชาตญาณแห่งความตายด้วย มิติ เชิงจิตวิเคราะห์รวมถึงสัญศาสตร์และการรื้อแล้วสร้างความหมายทาง เพศ ที่ผู้แต่งได้ซ่อนไว้นี้ ถือเป็นโครงสร้างที่แฝงการท้าทายให้โต้แย้ง ต่อข้อกำหนดอันไม่สมประกอบทางด้านค่านิยม เพศภาวะ การเมือง เรื่องอัตลักษณ์ รวมทั้งบางแง่ของวิถีเศรษฐกิจสังคม อันกระทบต่อ สถานะความเป็นคน

 

Techniques and Structures to Signify Rapes in Thai Novels

The purpose of this article was to analyze the techniques and structures that signify rapes in Thai novels. It was found that the Thai novels in the era between the end of WW II and 2007 have structures that demonstrate interesting attitudes toward rapes. That is, all male writers in the scope of the research have as much sympathy for the mistreated female protagonists as most female writers do. On the other hand, the female writers of romances and novels about homosexuality still follow the conventional representations of men and women that uphold patriarchy and heterosexual relationships.

The major techniques that the writers use in constituting the meanings of humanity are 1) symbols concerning four classical elements as analogies for human natures, 2) forms of metaphors that emphasize both the roles of men and women, and 3) linguistic pragmatics that indicate the status of men and women. All these techniques form the structures which illustrate that each human being has both strengths and weaknesses hidden inside, that human nature is a combination of both male and female attributes. Thus raping in the literary works significantly reflects that the authors do not intend to attack only men or women. Instead, they have a profound insight that sexuality reveals both life instinct and death instinct, as found in aggressiveness in raping. The writers’ psychological analysis and use of semiology as well as deconstructuralism imply a challenge to the illogical social values about genders, identity politics, and some aspects of socio-economic patterns that degrade human status.

Downloads

How to Cite

หนูหมื่น ว. (2014). กลวิธีกับโครงสร้างที่สื่อนัยการข่มขืนของนวนิยายไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 10(2), 99–135. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85669