สรมากับปณิ : เพลงปฏิพากย์ในฤคเวท?
Keywords:
เพลงปฏิพากย์, ฤคเวท, บทสนทนา, Dialogue song, Ṛgveda, DialogueAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทสนทนาในฤคเวทด้วย แนวคิดของเพลงปฏิพากย์ซึ่งเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะประเภทหนึ่ง โดยใช้บทสนทนาระหว่างสรมากับปณิเป็นกรณีศึกษา คำถามของ การวิจัยคือ บทสนทนาในฤคเวทอาจถือว่าเป็นเพลงปฏิพากย์ได้หรือ ไม่ ผลการศึกษาคือลักษณะการปฏิพากย์อย่างเพลงปฏิพากย์ปรากฏ ในวัฒนธรรมอินเดียมาแต่โบราณ บทสนทนาระหว่างสรมากับปณิมี ลักษณะบางประการที่อาจเทียบเคียงกับเพลงปฏิพากย์ได้ ได้แก่ เรื่อง การซ้ำคำชุดเดียวกัน การวางโครงเรื่อง เนื้อหาที่ทำให้การโต้ตอบ โดดเด่น เรื่องการหว่านล้อมให้เข้าเป็นพวกเดียวกันซึ่งใกล้เคียงกับ การเกี้ยวพาราสี และเรื่องวัวซึ่งเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ ทางเกษตรกรรม แม้ขณะนี้เรายังกล่าวไม่ได้ว่าบทสนทนาในฤคเวท เป็นเพลงปฏิพากย์เพราะไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ แต่ก็ถือว่า มีลักษณะปฏิพากย์อย่างเพลงปฏิพากย์ได้เช่นกันSarāma and Paṇi : A Dialogue Song in Ṛgveda?
This article aims at studying a Ṛgvedic dialogue with the concept of dialogue song, a kind of literature in oral tradition. The dialogue between Saramā and Paṇi was selected as the case study. The research question is whether or not we can regard the Ṛgvedic dialogue as a dialogue song. The findings are the dialogue song have already existed in Indian culture since the old day. The dialogue between Saramā and Paṇi is interestingly able to compare with the dialogue song, including anadiplosis, setting the plot, its content that makes the retort vivid, persuasion led to fellowship that clings to flirtation, and the matter of cow which is the representative of agricultural fertility. Although we cannot conclude that the Ṛgvedic dialogue is a kind dialogue song on account of none of much enough proof, it is undeniable there are some of retort characteristic as well.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี