มิติครอบครัวในนิทานพื้นเมืองม้ง แห่ง สปป.ลาว
Keywords:
นิทานพื้นเมืองม้ง, มิติครอบครัว, อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, Hmong folktale, family perspective, ethnic identityAbstract
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของนิทาน พื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาวซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติลาวสูง โดยศึกษาจากนิทานพื้นเมืองม้งฉบับ แปลเป็นภาษาลาวที่รวบรวมโดย ส.วงปัดใจ ล่อเบี้ยะยาว และกิโยกิ ยาสุย (2546) จำนวน 22 เรื่อง โดยผู้วิจัยได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในประเด็นเกี่ยวกับครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นเมืองม้ง มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิถีชีวิตและสังคมของชนเผ่าม้งใน บริบทของวัฒนธรรมในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติเกี่ยวกับครอบครัว อันได้แก่การเคารพบรรพบุรุษ การแต่งงาน ความสัมพันธ์ของสมาชิก ในครอบครัวรวมทั้งปัญหาความขัดแย้งของคนในครอบครัว เป็นที่น่า สังเกตว่า ความขัดแย้งส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างพี่น้อง หญิงชาย เมียน้อย เมียหลวงและแม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยงมักจะมีสาเหตุมา จากความสัมพันธ์เชิงอำนาจและค่านิยมของคนม้งเอง มิติครอบครัว ในนิทานพื้นเมืองม้ง นับได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ชัดเจน ประการหนึ่งของคนม้ง คือการเป็นคนของครอบครัวและวงศ์ตระกูล
This article aims to investigate family perspective in folktales of Hmong in Lao PDR, or Lao Sung, by studying Lao translated version of 22 Hmong folktales collected by Sor Wongpadjai Lorbiayao and Kiyoki Yasui (2003). It was found that Hmong folktales closely relate to lifestyle and society of Hmong people in the past, especially in family aspects such as ancestor worship, marriage, relationship in family members, and conflicts among family members. In addition, it is noticeable that most of the conflicts, as can be seen in siblings, man and woman, principal wife and mistress, or stepmother and stepchild, are usually resulted from and power relations and values of Hmong people. Family perspective in Hmong folktales can be considered one of the distinct aspects of Hmong people’s ethnic identity as it reflects the state of being a member in the family.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี