บทบาทของวุฒิสมาชิกมิตช์ แมคคอนแนลต่อการกำหนดมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

Authors

  • เอนกชัย เรืองรัตนากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

มิตซ์ แมคคอนแนล, มาตรการลงโทษทาง เศรษฐกิจ, สหรัฐอเมริกา, แอฟริกาใต้, เมียนมาร์, อิหร่าน, รัสเซีย, Mitch McConnell, Economic Sanctions, US, South Africa, Myanmar, Iran, Russia

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงบทบาทของ วุฒิสมาชิกมิตช์ แมคคอนแนล ในฐานะผู้นำสมาชิกวุฒิสภาฝ่าย เสียงข้างมากในการประชุมสภาคองเกรสสมัยที่ 114 ต่อแนวโน้ม การกำหนดมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจในฐานะเครื่องมือใน การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษา พบว่า วุฒิสมาชิกแมคคอนแนลมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนด มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจเพื่อยุตินโยบายแยกสีผิวใน แอฟริกาใต้นับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่งในสมัยแรก แนวคิด ดังกล่าวได้พัฒนาเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ต่อเมียนมาร์ของวุฒิสมาชิกแมคคอลแนลในทศวรรษต่อมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในประสิทธิผลของมาตรการ ลงโทษทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่วุฒิสมาชิก แมคคอลแนลจะหยิบยกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจขึ้นมาเป็น แนวนโยบายในการดำเนินความสัมพันธ์กับอิหร่านและรัสเซียที่ ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติและยุทธศาสตร์ หลักของสหรัฐอเมริกา ทว่าแนวโน้มดังกล่าวนี้อาจกลายเป็นแรง กระตุ้นให้ทั้งอิหร่านและรัสเซียหันไปสร้างความสัมพันธ์ผูกมิตร กับจีนเพื่อขยายแนวร่วมทางยุทธศาสตร์และเพิ่มอำนาจต่อรอง กับประชาคมโลก ซึ่งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ การรักษาสถานะความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกา

 

Senator Mitch McConnell’s Role in the Imposition of Economic Sanctions as a U.S. Foreign Policy Tool

This article aimed at investigating the role of Senator Mitch McConnell, the Senate majority leader in the 114th Congress, in the imposition of economic sanctions as a U.S.'s foreign policy tool. The study found that, McConnell had played a significant role in pushing economic sanctions against the apartheid regime of South Africa since his first-term in office. South Africa chapter molded his approach to Myanmar and his consistent sponsorship of economic sanctions towards the country in the next decade. It reflected his confidence in the effectiveness of economic sanctions. Therefore, it was possible for McConnell to support the economic sanctions towards Iran and Russia, which were perceived as threats to the U.S.'s vital interest and grand strategy. Furthermore, the sanctions themselves became catalyst; Iran and Russia turned to China for enhancing their bargaining leverage at the global level. Consequently, the U.S.'s intention to maintain its hegemonic status in post - Cold War era was affected.

Downloads

How to Cite

เรืองรัตนากร เ. (2015). บทบาทของวุฒิสมาชิกมิตช์ แมคคอนแนลต่อการกำหนดมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(1), 223–264. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85659