ภาพลักษณ์เหยื่ออาชญากรรมในโลกทัศน์ของหนังสือพิมพ์ไทย

Authors

  • มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

เหยื่ออาชญากรรม, สิทธิของเหยื่ออาชญากรรม, สังคมวิทยากฎหมาย, เหยื่ออาชญากรรมและสื่อ, อาชญาวิทยา, Crime Victims, the Right of Crime Victims, Sociology of Law, Crime Victims and Media, Criminology

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าภาพลักษณ์ของ เหยื่ออาชญากรรมที่ถูกนำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยมีลักษณะ อย่างไร การนำเสนอดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการละเมิดสิทธิ ของเหยื่ออาชญากรรมหรือไม่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ประชานิยม 4 ฉบับคือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์ เดลี่นิวส์ และหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ ระหว่าง 15- 25 ปี มากที่สุด ช่วงเวลาที่มักเกิดเหตุอาชญากรรม มากที่สุดคือ ช่วงเวลา 00.01- 06.00 น. อาชญากรรมที่เกิดขึ้น และถูกนำเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์มากที่สุดคือ อาชญากรรม ต่อชีวิตและร่างกาย และมีการระบุชื่อจริงนามสกุลจริงของเหยื่อ อาชญากรรม ส่วนกลไกการคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรมนั้นมุ่งเน้น การคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรมในกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังไม่มีกฎหมายหรือบทบัญญัติที่คุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม จากการถูกละเมิดของสื่อมวลชน โดยพบว่ามีเพียงข้อบังคับ ว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2541 เท่านั้นที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรม แต่ไม่ได้มีบทลงโทษที่ ชัดเจนต่อกรณีที่มีการนำเสนอข่าวในลักษณะที่อาจจะละเมิดสิทธิ ส่วนบุคคลของเหยื่ออาชญากรรมทำให้มีการนำเสนอข่าวใน ลักษณะหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิของเหยื่ออาชญากรรมปรากฏ อยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์

 

The Image of Crime victim presented in The Thai newspaper

The purposes of this study were to investigate the characteristics of crime victims presented in Thai newspapers and to find out whether the newspapers' presentation violated the right of crime victims. Content analysis was employed in this qualitative research. Four mass newspapers: Thairath, Khaosod, Daily News and Kom Chad Luek were analysed. The study found that the victims were generally men aged between 15 to 25. Most of the crimes were committed between 00.01 to 6.00 am. Crimes against life and person were mostly presented in newspapers and the names of the crime victims were also disclosed. Moreover, the crime victims' right applies only in the criminal procedure, but not in the mass media. Although the Press Council of Thailand has issued the Code of Ethics for members of the Press Council of Thailand B.E.1998, violations still occur as the regulation hasn't been enforced.

Downloads

How to Cite

มูซอ ม. (2015). ภาพลักษณ์เหยื่ออาชญากรรมในโลกทัศน์ของหนังสือพิมพ์ไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(1), 49–82. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82799