แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศและข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศในการติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติ น้ำท่วมของประชาชนบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี

Authors

  • ศรัณย์ลิตา โชติรัตน์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ, การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน, ภัยพิบัติน้ำท่วม, ระบบสารสนเทศ, Guidelines for Information Management System, Information Access, Flood Disaster, Information System

Abstract

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพ ปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังต่อการรับทราบสารสนเทศ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติ น้ำท่วมของประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำ ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์หาแนวทางในการพัฒนาระบบ สารสนเทศและรูปแบบการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของประชาชน เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติน้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำ ปัตตานีที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งผู้วิจัยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้ แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนในบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี จำนวน 384 ท่าน ร่วมกับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 ท่าน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเพื่อ การติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติน้ำท่วม คิดเป็นร้อยละ 68.66 โดยมีระดับความต้องการและความคาดหวังต่อการรับทราบ สารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระดับมาก (\inline \bar{X} = 3.54, S.D. = 0.658) มีระดับความพึงพอใจต่อข้อมูลสารสนเทศอยู่ในระดับ น้อย (\inline \bar{X} = 2.49, S.D. = 0.734) ทั้งนี้ผู้ที่มีระดับการศึกษา อายุ และอาชีพที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันในการรับทราบข้อมูล ข่าวสารและการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการติดตามและเฝ้าระวัง ภัยพิบัติน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำปัตตานีแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเพื่อการติดตาม และเฝ้าระวังภัยพิบัติน้ำท่วมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก ที่สุด โดยรูปแบบการสื่อสารสารสนเทศที่ได้รับมากที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์ ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติน้ำท่วมร้อยละ 61.20 และ ไม่ประสงค์เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 37.80 ทั้งนี้แนวทางการพัฒนา การจัดการระบบสารสนเทศควรพัฒนาให้ระบบสารสนเทศ สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ผ่านสื่อหรือรูปแบบ การสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว แม่นยำและเข้าใจง่าย

 

Development Guidelines for Information Management System and Information Access to Track and Monitor the Flood Disaster of People in the Pattani Basin

The objectives of this research were to study the people's needs and expectations in obtaining information and to get an access to the information useful for tracking and monitoring the flood disaster in Pattani Basin more effectively. The researcher employed the mixed method study with mixed sampling techniques for collecting data from 384 research subjects living in the Pattani Basin and In - depth interview of 10 persons. The findings were that the subjects received information useful for tracking and monitoring the flood disaster at approximately 68.66 percent with the need and expectation in perceiving the information from the relevant organization at the high level (\inline \bar{X} = 3.54, S.D. = 0.658), while the level of satisfaction in perceiving the information from the relevant organization was at the lowest level (\inline \bar{X} = 2.49, S.D. = 0.734). In addition, the citizens with different levels of education, ages and occupations to revealed the different information - receiving levels at the statistically different at 0.05. Secondly, the information that people received at the maximum level was mainly provided by the local administrative organization, and television was claimed to be the main media providing such communication patterns of information in all groups. Third, the citizens had never engaged in any activities to track and to monitor the flood disaster at approximately 61.20 percent and did not wish to attend such activities which occounted for 37.80 percent.

In conclusion, an effective approach for information systems development and information management are required. This should be done with further cooperation from the government agencies in the study area, to co - design of the plan for the development of information services that fit the needs of the public with greater speed and accuracy.

Downloads

How to Cite

โชติรัตน์ ศ. (2015). แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศและข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศในการติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติ น้ำท่วมของประชาชนบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(1), 9–48. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82798