การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนโดยใช้หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม กรณีศึกษา ชุมชนเลม็ด ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Authors

  • วิสาขา ภู่จินดา
  • สิริสุดา หนูทิมทอง คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม, ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน, Industrial Ecology, Social Return on Investment, SROI

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมและ จัดการของเสียจากการเกษตรภายในชุมชน และเพื่อประเมินผล ตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการประยุกต์หลักนิเวศวิทยา อุตสาหกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยการรวมกลุ่มทำ กิจกรรมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนเลม็ด ทำการศึกษาโดยการ ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่มีความเกี่ยวข้อง กับการจัดการสิ่งแวดล้อม ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกประธานกลุ่ม กิจกรรมจำนวน 4 คน และวิเคราะห์การใช้ทรัพยากร ของเสียที่เกิดขึ้น การประยุกต์หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชน และคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI)

ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนมีกิจกรรมหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ทำนาข้าวและข้าวซ้อมมือ กลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไข่บ้านนาทราย และกลุ่ม วิสาหกิจไข่เค็ม อสม. และกิจกรรมรอง 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเลม็ด กลุ่ม กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรี กลุ่มผู้ใช้น้ำ และกลุ่มต้นกล้า กองทุนแม่ของแผ่นดิน และจากการเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ก่อน และหลังการประยุกต์หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมในการทำกิจกรรม พบว่า ก่อนการประยุกต์หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมในการทำ กิจกรรมของกลุ่มทำนาข้าวและข้าวซ้อมมือ มีค่า SROI เท่ากับ 0.84 กลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไข่บ้านนาทราย มีค่า SROI เท่ากับ 63.26 และกลุ่ม วิสาหกิจไข่เค็ม อสม. มีค่า SROI เท่ากับ 8.41 และหลังการประยุกต์ ใช้หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมในการทำกิจกรรมของกลุ่มทำนาข้าว และข้าวซ้อมมือ มีค่า SROI เท่ากับ 1.28 กลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไข่บ้านนา ทราย มีค่า SROI เท่ากับ 96.50 และกลุ่มวิสาหกิจไข่เค็ม อสม. มีค่าSROI เท่ากับ 9.43 แสดงให้เห็นว่าหลังการประยุกต์หลักนิเวศวิทยา อุตสาหกรรมในการทำกิจกรรมนั้นมีค่า SROI สูงกว่าก่อนการประยุกต์ หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมในการเชื่อมโยงกิจกรรม

 

Community Environmental Management based on Industrial Ecology Concept; a Case Study of Lamet Community, Lamet Sub-District, Chaiya District, Surajthanee Province.

This study aimed at studying environmental management and management of agriculture waste in community using industrial ecology concept; a case study of Lamet community and then assessing Social Return on Investment (SROI) of applying the industrial concept in the community environmental management by collaboration of each activity in the community. Data collection by surveying the activities in the community and interviewing the community enterprise leaders from four activities studied were carried out. Data was described and characterized in order to conclude the community environmental management and then SROI was calculated.

The findings of this study showed that there were three major community activities i.e. rice planting and brown rice production activity, feeding duck activity, salted egg production activity and six minor community activities i.e. natural resource and environmental conservation activity, ecological tourism activity, village fund activity, women career development activity, water user activity and mother earth fund. They had a collaboration in environmental management by exchanging their resources and raw materials based on the industrial ecology concept. The benefit of the application of the concept was shown in term of the SROI. The SROI of the three major community activities i.e. before applying the concept were 0.84, 63.26 and 8.41, respectively and those after applying were 1.28, 96.50 and 9.43, respectively.

Downloads

How to Cite

ภู่จินดา ว., & หนูทิมทอง ส. (2015). การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนโดยใช้หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม กรณีศึกษา ชุมชนเลม็ด ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(2), 171–195. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82647