การรับรู้คุณภาพของบัณฑิต ทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณสมบัติและสมรรถนะที่มีความจำเป็นของบัณฑิตหลักสูตร กลุ่มวิชาการจัดการสำหรับมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ

Authors

  • ลัดดา ปินตา
  • สุรชัย อุตมอ่าง สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

Keywords:

การรับรู้คุณภาพของบัณฑิต, สมรรถนะที่จำเป็นของบัณฑิต, ทัศนคติของผู้ประกอบการ, คุณสมบัติของบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการ, Quality Perception of graduates, Competencies required of graduates, Attitudes of entrepreneurs and Qualifications of the unpleasant

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพของบัณฑิต ทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณสมบัติและสมรรถนะที่มีความ จำเป็นของบัณฑิตหลักสูตรกล่มุ วิชาการจัดการ วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research method) โดยใช้ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูลจากเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารฝ่ายบุคคล สถานประกอบการ ที่รับบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เข้าทำงาน จำนวน 85 ราย ทำการ วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ด้วยวิธี Partial Least Square (PLS)

ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรการรับรู้คุณภาพของบัณฑิตมีอิทธิพล ต่อสมรรถนะที่จำเป็นของบัณฑิตและทัศนคติของผู้ประกอบการ มีความเป็นจริงยอมรับตามสมมติฐานที่นัยสำคัญ p ≤ 0.01 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรทัศนคติของผู้ประกอบการและตัวแปรสมรรถนะของ บัณฑิต ส่งผลต่อคุณสมบัติของบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการ ยอมรับตามสมมติฐานที่นัยสำคัญ p ≤ 0.01 ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ พบว่า ผู้ประกอบการมีความต้องการสมรรถนะของบัณฑิตในภาพรวม ในระดับมาก ทักษะทางด้านความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ ประกอบไปด้วย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่งาน ความสามารถในการ ปรับตัว การทำงานเป็นทีม ความมีน้ำใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ เพื่อนร่วมงานและผู้อื่นและการพัฒนาตนเองและการพัฒนางาน โดยผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า สมรรถนะความสัมพันธ์และ ความรับผิดชอบจะส่งผลต่อการพัฒนาสถานประกอบการในภาพรวม ในการศึกษานี้ยังค้นพบอีกว่า คุณลักษณะบัณฑิตที่สถานประกอบการ ต้องการ คือ ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพและ ทักษะในการบูรณาการและประยุกต์ศาสตร์ทางการจัดการ

 

Quality Perception of graduates, Attitude of entrepreneur for the quality and the competencies that is necessary for the Data Management graduate students of the university where the graduate practitioners emphasize

The purpose of this case study is for study about the quality perception of graduates, Attitude of entrepreneur for the quality and the competencies that is necessary for the data management graduate students. The method, we use the quantitative research method by asking the owner or human resource of the entrepreneur where have the students who graduated from Faculty of Business in a field of Data Management around 85 persons and analysis with the structural equation by using Partial Least Square (PLS).

The results showed that graduate variable perceived quality of entrepreneur influence the competencies required of graduate and attitudes of entrepreneur where have accepted the fact that the hypothesis significance p ≤ 0.01, respectively. The variable attitude of the operators and the variable competencies required of graduates affect the desirable properties of graduated. Accept the hypothesis significance p ≤ 0.01. The findings of this case study found that the operators have the competencies of graduates in the overall level of demand; at relationship and responsible skill that have responsible for the duty, ability to adapt, teamwork, kindness, the generous to colleagues and the others, self-improvement and development. The operator commented. Performance relationship and the responsibility to contribute to the development of enterprises as a whole. In this study, We found that. Graduate features that enterprises need the skills to work in vocational and professional skills in the integration and application of the science of management.

Downloads

How to Cite

ปินตา ล., & อุตมอ่าง ส. (2015). การรับรู้คุณภาพของบัณฑิต ทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณสมบัติและสมรรถนะที่มีความจำเป็นของบัณฑิตหลักสูตร กลุ่มวิชาการจัดการสำหรับมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(2), 145–170. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82644