อ่านวรรณกรรมไทยพากษ์จีนในสังคมไทยยุคพัฒนา

Authors

  • กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สรพงษ์ ลัดสวน สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

วรรณกรรมไทยพากษ์จีน, นโยบายการพัฒนา, สังคมไทย, ชุมชนจีน, ความเหลื่อมล้ำ, Sinophone Thai litterature, development policies, Thai society, Chinese communities, inequality

Abstract

บทความนี้นำเสนอภาพรวมของวรรณกรรมเกี่ยวกับคนจีนในไทย ที่เขียนเป็นภาษาจีนในฐานะวรรณกรรมร่วมสมัย โดยใช้คำว่า “วรรณกรรมไทยพากษ์จีน” วรรณกรรมไทยพากษ์จีนกำเนิดภายใต้ สายธารวรรณกรรมสี่พฤษภา ซึ่งเป็นวรรณกรรมสัจจนิยมแนวก้าวหน้า จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาจึงคลี่คลายและมีที่ทาง ในวงวรรณกรรมไทย ในบทความนี้ มีการวิเคราะห์วรรณกรรมไทย พากษ์จีนคัดสรรสี่เรื่อง คือ เยาวราชในพายุฝน ซอยเถื่อน จากเหมย ถึงพลับพลึงและถนนโลกีย์ เพื่ออภิปรายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวบทกับบริบทการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านงานวรรณกรรม โดยทดลองอ่านวรรณกรรมไทยพากษ์จีนในบริบทสังคมไทยใน ยุคสมัยสงครามเย็นภายใต้นโยบายการพัฒนาที่ได้รับอิทธิพลมาจาก สหรัฐอเมริกา บทความนี้มองว่าตัวบทวรรณกรรมไทยพากษ์จีน เป็นการวิพากษ์ทิศทางการพัฒนาที่ก่อปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพฯ แม้งานเหล่านี้จะฉายให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพฯ แต่ ภายใต้ความรุ่งเรืองดังกล่าวก็แฝงไปด้วยชีวิตของคนยากจน มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คนจีนชายขอบ” ซึ่งสะท้อนให้เห็น ลักษณะของวรรณกรรมแบบสัจจนิยมที่เฟื่องฟูหลังสงครามโลก ครั้งที่สอง

 

Reading Sinophone Thai literature in the context of Thailand's “era of development”

This article presented the overview of contemporary Thai literature on ethnic Chinese written in the Chinese language, defined as “Sinophone Thai literature”. Sinophone Thai literature, once an offshoot of modern Chinese literature in the May Fourth era, became engaged in a trend of localization in the postwar decades, and began to establish its position in the Thai literary circles. Through reading selected Sinophone Thai literary works including Fengyu Yaohuali, Lou xiang, Chak mei thueng phlupphlueng and Hua Jie, this study explored Thailand's socalled “era of development” largely influenced by the United States during the Cold War in order to describe the relationship between texts and their context. The findings showed that Sinophone Thai literature was a critical response to the Thai state’s development policies, which exacerbated social and economic inequality, especially in a densely populated city like Bangkok. Under the prosperity of the Thai capital lay the hidden corner of the life of the Chinese who had been marginalized as the urban poor. This reflected realism in Thai literature, a popular genre of progressive writings in the postwar decades.

Downloads

How to Cite

ตั้งเขื่อนขันธ์ ก., & ลัดสวน ส. (2015). อ่านวรรณกรรมไทยพากษ์จีนในสังคมไทยยุคพัฒนา. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(2), 95–127. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82638