ปัจจัยทางเพศกับกลวิธีการตำหนินักเรียน

Authors

  • วิฑูรย์ เมตตาจิตร ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ตามใจ อวิรุทธิโยธิน ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การตำหนิ, กลวิธีตำหนิโดยตรง, กลวิธีตำหนิโดยอ้อม, วิธีการเสริม, เพศ, reprimanding, direct reprimanding strategies, indirect reprimanding strategies, supportive strategies, gender

Abstract

บทความนี้ศึกษาการตำหนินักเรียนโดยครูจำนวน 60 คน ผู้วิจัย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเติมบทสนทนาให้สมบูรณ์จากสถานการณ์ที่ กำหนดขึ้นตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ผลการศึกษา พบ กลวิธีตำหนิโดยตรงมากที่สุด ตามด้วยกลวิธีตำหนิโดยอ้อม และ วิธีการเสริม ตามลำดับ กลวิธีตำหนิโดยตรงประกอบด้วย 7 กลวิธีย่อย กลวิธีตำหนิโดยอ้อมประกอบด้วย 6 กลวิธีย่อย และวิธีการเสริม ประกอบด้วย 7 วิธีการย่อย โดยภาพรวมครูใช้กลวิธีตำหนิโดยอ้อม กับนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย ผู้วิจัยคิดว่าเป็นเพราะนักเรียน หญิงมีพฤติกรรมที่นุ่มนวลอ่อนโยนมากกว่านักเรียนชาย ในขณะ เดียวกันครูใช้วิธีการเสริมกับนักเรียนชายมากกว่านักเรียนหญิง ผู้วิจัย คิดว่าเป็นเพราะนักเรียนชายมีพฤติกรรมที่แข็งกร้าวไม่อ่อนโยน ครูจึง ใช้วิธีการเสริมเพื่อดึงความสนใจและสร้างความเป็นกันเองก่อนที่จะ กล่าวถ้อยคำใดๆ

 

Gender Factors and the Strategies in Reprimanding Students

This article aimed to study teachers’ strategies in reprimanding students. Discourse completion tests were used to collect data from 60 teachers and designed based on the desirable characteristics of teachers in students’ point of view. The results showed that the strategies which teachers frequently used were direct strategies, indirect strategies, and supportive strategies, respectively. Teachers adopted 7 sub-strategies of direct reprimanding strategies, 6 sub-strategies of indirect reprimanding strategies, and 7 sub-strategies for supportive strategies. Overall, the researcher discovered that indirect strategies were used more frequently with female students because of their gentle behaviors. In the meantime, supportive strategies were used more frequently with male students because of their aggressive behaviors; therefore, teachers fostered supportive strategies in order to draw the attention of male students and build cordiality before carrying on further conversation.

Downloads

How to Cite

เมตตาจิตร ว., & อวิรุทธิโยธิน ต. (2015). ปัจจัยทางเพศกับกลวิธีการตำหนินักเรียน. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 11(2), 9–36. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82634