ผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรกรทำจากในสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง : กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • พรไทย ศิริสาธิตกิจ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

การปรับตัว, ป่าจาก, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง, Adaptation, Nipah palm groves, Pak Panang River Basin Area Development Project

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาผลกระทบ จากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังต่อระบบนิเวศป่าจาก และเศรษฐกิจของครัวเรือน โดยศึกษาถึงกระบวนการและเงื่อนไข การปรับตัวด้านอาชีพของครัวเรือนอันเนื่องมาจากผลกระทบ ดังกล่าว โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนขนาบนากในอดีตมีความ อุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปากแม่น้ำ ปากพนัง ชุมชนมีทรัพยากรนำที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ต่างๆ ถึง 3 น้ำ คือน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย เดิมครัวเรือนใน ชุมชนทำนาเป็นอาชีพหลัก มีการทำน้ำตาลที่แปรรูปจาก “ต้นจาก” เป็นอาชีพรองและอาชีพเสริม จนกระทั่งเมื่อการเลี้ยง กุ้งกุลาดำขยายตัวอย่างมากในลุ่มน้ำปากพนังในช่วงปี พ.ศ.2531 ซึ่งมีแรงจูงใจจากราคา ชาวบ้านก็ทำลายป่าจากลงไปจำนวนมาก เพื่อขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง และท้ายสุดชาวบ้านก็หยุดการทำจากและ ทำนาไปอย่างสิ้นเชิง ต่อมาเมื่อการเลี้ยงกุ้งล้มเหลว ชาวบ้าน มีหนี้สินจำนวนมาก โดยท่ามกลางผลกระทบที่เกิดขึ้นครัวเรือน กลุ่มต่างๆ ได้พยายามปรับตัวด้านอาชีพอย่างเต็มที่เพื่อให้ ครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้พบว่า กลยุทธ์การปรับตัว ที่สำคัญจำแนกออกได้เป็น 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่หนึ่ง การปรับตัวบนพื้นฐานการผลิตทางการเกษตร กลยุทธ์ที่สอง คือ การปรับตัวบนพื้นฐานการผลิตนอกภาคเกษตร

 

The Study of Effects and Adaptation of Nipah Palm Agriculturists among Economic Changes and The Establishment of Pak Panang River Basin Area Development Project : Case Study of Kanabnark Village, Pak Panang district, Nakhonsrithammarat Province.

The objective of this research is to study effects of Pak Panang River Basin Area Development Project towards ecological system of Nipah palm groves area and household economy. The main focus is on process and condition of adaptation in household occupations which applies qualitative methodology.

It is discovered that, in the past Kanabnark was a plentiful area due to the fact that it is situated in Pak Panang Estuary in which abundant water resources congregated; fresh water, salt water and brackish water. These suitable resources make this area be a plentiful area for agriculture. Primarily, most of Kanabnark villagers were rice farmers and Nipah palm sugar refining was a minor occupation. In 2530 (B.C.) the number of tiger shrimp farming in Pak Panang area was increasing owing to its good price. The villagers destroyed many of Nipah palm groves in order to build Tiger Shrimp farm. Consequently, the agricultural areas (Nipah palm gloves and rice farms) were transformed into Tiger Shrimp farm. Afterwards, Tiger Shrimp farm feeding failed. Most of farmers were in debt and jumped into the crisis. The study found two strategies of life adaptation. The first was the adaptation which based on two forms of agriculture. The second strategy is the adaptation which based on non agriculture.

Downloads

How to Cite

ศิริสาธิตกิจ พ. (2016). ผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรกรทำจากในสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง : กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 12(1), 147–192. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82623