การศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดการเขียนภาษาจีนของนิสิตหลักสูตรภาษาจีน มหาวิทยาลัยทักษิณ
คำสำคัญ:
ข้อผิดพลาดการเขียนภาษาจีน, การใช้เครื่องหมาย, คำศัพท์ภาษาจีน, องค์ประกอบโครงสร้างประโยคภาษาจีน, อักษรจีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดการเขียนภาษาจีนของนิสิตหลักสูตรภาษาจีน ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาการเขียนภาษาจีน 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 63 คน โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดของนิสิตในข้อสอบปลายภาค และนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะข้อผิดพลาดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ลักษณะข้อผิดพลาดด้านการใช้เครื่องหมาย พบมากที่สุด คือ การใช้เครื่องหมายจุลภาค(逗号) 2) ลักษณะข้อผิดพลาดด้านการใช้คำศัพท์ พบมากที่สุด คือ การใช้คำผิดความหมาย 3) ลักษณะข้อผิดพลาดด้านการใช้องค์ประกอบโครงสร้างประโยคภาษาจีน พบมากที่สุด คือ บทขยายนาม(定语)และ 4) ลักษณะข้อผิดพลาดด้านการเขียนตัวอักษรจีน พบมากที่สุด คือ เส้นขีดขาด
นอกจากนี้ยังพบว่า สาเหตุหลักของข้อผิดพลาดเกิดจากความแตกต่างระหว่างภาษาแม่กับภาษาเป้าหมายของผู้เรียน ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการเขียนภาษาจีนให้ถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้สอนควรออกแบบการเรียนการสอนให้มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษรจีนและพัฒนาทักษะการเขียนกับผู้เรียน และด้านกิจกรรมการเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการเขียนภาษาจีนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเขียนภาษาจีน
References
กนกพร นุ่มทอง, และศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา, 12(2), 105-151.
กมลชนก สิทธิโชคสถิต. (2565, 7-8 กรกฎาคม). การศึกษาข้อผิดพลาดการใช้เครื่องหมายภาษาจีน: กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัย-ราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.
จุฬารัตน์ คำน้อย, หลิวซู, และจิ้นหลิง. (2561). การสร้างคลังข้อมูลและวิเคราะห์การเขียนตัวอักษรจีนผิดของนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษาสำนักวิชาจีนวิทยามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วารสารจีนศึกษา, 11(2), 102-119.
นมลรัตน์ แย้มวงศ์. (2563). การวิเคราะห์เปรียบเทียบการเรียงลำดับคำของหน่วยขยายในภาษาจีนและภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา, 13(2), 113-156.
นริศ วศินานนท์, และสุกัญญา วศินานนท์. (2562). การศึกษาปัญหาการเขียนตัวอักษรจีนผิดที่พบบ่อยของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์, 38(1), 85-100.
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2561). การศึกษาข้อผิดพลาดการเขียนตัวอักษรจีนของผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารจีนศึกษา, 11(1), 283-314.
ภากร นพฤทธิ์ และคณะ. (2561). การศึกษาปัญหาการเขียนภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 1 “สร้างสรรค์ งานวิจัย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” 10 พฤษภาคม 2561. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
ภูมรินทร์ ภิรมย์เลิศอมร. (2555). ข้อผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรจีนของนิสิตเอกภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (รายงานการวิจัย), มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิธร นุริตมนต์. (2565). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ในการเขียนรูปประโยคภาษาจีนของนิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6): 135-152.
สุชนา หลงเจริญ. (2562). ปัญหาด้านทักษะการเขียนภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1): 362-372ฃ
Yanhua, Li. (2015). Analysis of errors of Thailand students in Chinese writing order (Master's Thesis), Jiangxi Normal University.
Yingqi, Tang, & Xiaofeng, Meng. (2022). Analysis of the Petrochemical Phenomenon in Chinese Writing by Thai Students Studying Abroad. Journal of Chinese Language Construction, 22(8), 88-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This article has been published in the Journal of Humanities and Social Sciences at Prince of Songkla University, Pattani Campus.