สัญลักษณ์นิยมในเรื่องสั้นของสตรีอมเริกันร่วมสมัยเชื้อสายเอเชีย

ผู้แต่ง

  • สุรเดช ทองบุญชู นักวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

สัญลักษณ์นิยม, สตรีอเมริกันเชื้อสายเอเชีย, เรื่องสั้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการใช้สัญลักษณ์ในงานเรื่องสั้นของสตรีอเมริกันร่วมสมัยเชื้อสายเอเชีย จำนวน 9 เรื่องโดยมีความคิดหลักที่สำคัญคือการขัดแย้งและการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และสภาพอันต่ำต้อยของสตรีสังคมและวัฒนธรรมเอเชียโดยศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ที่สำคัญประกอบการนำเสนอสัญลักษณ์เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์มากยิ่งขึ้น  ผลการศึกษาพบว่า ในเรื่องสั้นดังกล่าว ผู้เขียนใช้ทั้งตัวละคร สัตว์ การกระทำ สิ่งของ ฉากและสถานการณ์เป็นสัญลักษณ์ ทั้งแบบตามขนบและแบบเฉพาะตัว เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความคิดหลักของเรื่อง  การใช้สัญลักษณ์สัญลักษณ์ที่โดดเด่นยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิหลังและทัศนคติที่มาจากการเป็นคนที่มีสองวัฒนธรรม

การใช้สัญลักษณ์จึงเป็นจุดเด่นของงานเขียนในเรื่องสั้นทั้งหมด 9 เรื่อง ซึ่งช่วยให้ความคิดหลักของเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น การที่สัญลักษณ์สื่อความคิดหลักของเรื่องอย่างแยบยลและกระตุ้นการตีความทำให้เรื่องสั้นเหล่านี้กระชับ มีความลึกซึ้งและซับซ้อน ความแนบเนียนของสัญลักษณ์โดยการซ่อนความหมายยังสร้างพลังให้แก่งานเขียน เนื่องจากผู้อ่านต้องคิดวิเคราะห์และแปลความหมายอันเป็นการสร้างอารมณ์และความรู้สึกด้วยตัวผู้อ่านเอง

Author Biography

สุรเดช ทองบุญชู, นักวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

นายสุรเดช ทองบุญชู
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(ภาษาอังกฤษ) นักวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

References

1.Baym, Nina, et al. (1998). The Norton Anthology of American Literature. 5th ed. Oxford : Oxford University Press.
2.Chanthana Chaiyachit. 2001. American Literature: The Middle Twentieth Century to the Late Twentieth Century Historical and Analytical Approach (First volume). Bangkok : Chulalongkorn University Press.
3.Gilbert, Sandra M. and Gubar, Susan. 1996. The Norton Anthology: Literature by Women. 2nd ed. New York : Norton & Company.
4.Gudykunst, William B. 2001. Asian American Ethnicity and Communication. California : Sage.
5.Hilfer, Tony. 1992. American Fiction Since 1940. New York : Longman.
6.Holman, C. Hugh. 1972. A Handbook to Literature. 3rd ed. Indiana: The Odyssey Press.
7.Nittaya, Masawisut et al. 2001. American Poetry: Analysis and Anthology. Bangkok: Siam.
8.Perkins, Barbara ; Warhol, Robyn and Perkins George. 1994. Women’s Work: An Anthology of American Literature. New York : McGraw-Hill.
9.Rose, Peter I. 1997. They and We: Racial and Ethnic Relations in the United States. 5th ed. New York : McGraw-Hill.
10.VanSpanckeren, Kathryn. 1994. Outline of American Literature. The United States Information Agency.
11.Watanabe, Sylvia and Bruchac, Carol. 1990. Home to Stay: the Asian American Women’s Fiction. New York : Greenfield.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2021

How to Cite

ทองบุญชู ส. (2021). สัญลักษณ์นิยมในเรื่องสั้นของสตรีอมเริกันร่วมสมัยเชื้อสายเอเชีย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 159–191. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/251142