สถานการณ์การคลังท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่

Authors

  • ณชพงศ จันจุฬา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

การคลังท้องถิ่น, สถานการณ์ความไม่สงบ, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการคลังท้องถิ่นและการปรับตัวขององค์การบริหาร  ส่วนตำบลในพื้นที่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 207 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ 
         ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความไม่สงบขั้นรุนแรง (โซนสีแดง) ครอบคลุมพื้นที่ถึง 2 ใน 3 ตามการจัดแบ่งโซนของหน่วยงานความมั่นคง โดยมีแนวโน้มความรุนแรงและความถี่ของสถานการณ์ลดลงเพียงร้อยละ 1 และ 0.5 ตามลำดับ ทำให้กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 67 เชื่อว่าสถานการณ์จะสงบลงได้ต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี ส่งผลกระทบต่อการคลังท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเชื่อว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะชาวบ้านขาดรายได้ อีกทั้งธุรกิจในพื้นที่ก็ปิดกิจการลงเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ กลับพบว่าการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เพราะ องค์การบริหารส่วนตำบลมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของท้องถิ่นด้วยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบการคลังท้องถิ่น บริหารด้วยความโปร่งใส สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการชำระภาษีเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพิ่มช่องทางการชำระภาษีทางไปรษณีย์ ขยายเวลาและให้บริการรับชำระภาษีนอกสถานที่ รวมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างและแหล่งที่มาของรายได้ท้องถิ่น 

Downloads

Published

30-12-2018

How to Cite

จันจุฬา ณ., & สมุห์เสนีโต อ. (2018). สถานการณ์การคลังท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 14(2), 145–164. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/164037