บทประเมินและข้อเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทฤษฎีคลื่น (Wave Theory) ไปใช้อธิบายแนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิด และเส้นทางการอพยพของคนไท

Authors

  • โสภิตา ถาวร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Keywords:

Wave Theory, Concepts of origin and migration routes of Tai people, Tai people

Abstract

            บทความนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการนำทฤษฎีคลื่น (Wave Theory) ไปใช้อธิบายแนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดและเส้นทางการอพยพของคนไทในงานวิจัยของ John F. Hartmann และคณะ (Hauser, 2002) และเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทฤษฎีคลื่นไปใช้อธิบายแนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดและเส้นทาง  การอพยพของคนไท 
          ผลจากบทประเมินการนำทฤษฎีคลื่น (Wave Theory) ไปประยุกต์ใช้ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนสนับสนุนแนวความคิดถิ่นกำเนิดของคนไทของ John F. Hartmann และคณะ (2002) ซึ่งถือเป็นแนวคิดในยุคใหม่ (ศตวรรษที่ 21) เนื่องจากเป็นงานวิจัยแรก  ที่ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ซึ่งก็คือทฤษฎีคลื่น (Wave theory) รวมทั้งอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และวิทยาการสาขาต่างๆ ที่สามารถกำหนดตำแหน่งที่มีการพูดภาษาถิ่นต่างๆ ได้อย่างชัดเจนที่สุด ทำให้เชื่อได้ว่า  คนไทมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณมณฑลกวางสี-ไกวเจา ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และบริเวณชายแดนตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน-ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และมีเส้นทางอพยพเริ่มจากชายแดนกวางสี-ไกวเจา มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้เสนอปัจจัยบางประการ   ที่มีอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการนำทฤษฎีคลื่นไปใช้อธิบายแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดและเส้นทางการอพยพของคนไทดังนี้  1) การสัมผัสภาษา (language contact) และ 2) ระยะเวลาที่มีการสัมผัสภาษา (duration of contact) ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในงานของ John F. Hartmann และคณะ (Hauser, 2002)

Downloads

Published

30-12-2018

How to Cite

ถาวร โ. (2018). บทประเมินและข้อเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทฤษฎีคลื่น (Wave Theory) ไปใช้อธิบายแนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิด และเส้นทางการอพยพของคนไท. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 14(2), 63–104. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/164029