การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนา ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ อ.สะเดา จ.สงขลา

Authors

  • ชาคร ประพรหม

Keywords:

ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่, ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต, บัญชีเมตริกซ์สังคม, จังหวัดสงขลา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา เมื่อรัฐบาลจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต และบัญชีเมตริกซ์สังคม ซึ่งต้องมีการปรับตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตจากปี พ.ศ.2547 เป็นปี พ.ศ.2559 ก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
          ผลการวิจัยพบว่า ค่าตัวทวี ณ ระดับราคาคงที่ ของจังหวัดสงขลามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.53 โดยกิจกรรมการผลิต 3 อันดับแรกที่มีค่าตัวทวีสูงสุดได้แก่ กิจกรรมการผลิตสาขาการก่อสร้าง กิจกรรมการผลิตสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและกิจกรรมการผลิตสาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมการผลิตเป็นกิจกรรมการผลิตที่สำคัญของจังหวัดสงขลา สร้างรายได้ให้กับจังหวัดสงขลาเป็นจำนวนมาก ในส่วนของ สัมประสิทธ์ลีอองทีฟ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์การเชื่อมโยงไป ข้างหลัง ระหว่างกิจกรรมการผลิตต่างๆ ซึ่งกิจกรรมการผลิตโดยส่วนใหญ่มีการเชื่อมโยงไปข้างหลังกับกิจกรรมการผลิตสาขา การบริการและกิจกรรมสาขาอื่นๆ ที่ไม่สามารถจำแนกได้ใน 16 กิจกรรม และผลการศึกษาผลกระทบจากการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ต่อเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา สามารถแบ่งออกเป็นสถานการณ์จำลองได้ 5 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์จำลองที่หนึ่ง เมื่อรัฐบาลจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและ เงินก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่เข้าด้วยกันในปี พ.ศ.2559 ทำให้เศรษฐกิจจังหวัดสงขลาเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.29 สถานการณ์จำลองที่สองถึงสี่ เมื่อรัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ในปี พ.ศ.2560-2562 ทำให้เศรษฐกิจจังหวัดสงขลาเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.84 เท่ากันทั้ง 3 ปี สถานการณ์จำลองสุดท้าย เมื่อรัฐบาลจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ซึ่งเป็นงบประมาณผูกผัน 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2559-2562 ทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลามีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.09 ดังนั้น จากการจัดสรรงบประมาณ ค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนโยบายการคลังในเศรษฐศาสตร์มหภาค ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา เนื่องจากทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นและการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้าง 4 ปี
          ดังนั้น ถ้ารัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดหรือของประเทศ ในภาวะที่ประเทศอาจจะติดกับดักสภาพคล่อง นโยบายการเงินอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังแทนเพราะมีประสิทธิภาพและเห็นผลเร็วว่าการใช้นโยบายการเงิน

Downloads

Published

29-06-2018

How to Cite

ประพรหม ช. (2018). การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนา ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ อ.สะเดา จ.สงขลา. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 14(1), 283–318. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/131690