รื้อสร้างมายาคติความเป็นชายในสังคมญี่ปุ่น: การทบทวนความเป็นชายในนวนิยายเรื่อง เสียงแห่งขุนเขา และ นิทราเทวี ของคะวะบะตะ ยะซุนะริ
Keywords:
ความเป็นชาย, ญี่ปุ่น, คะวะบะตะ, ยะซุนะริ, เสียงแห่งขุนเขา, นิทราเทวีAbstract
นักวิชาการทั่วไปมักมองว่างานเขียนภายหลังสงครามของคะวะบะตะ ยะซุนะริ นักเขียนระดับรางวัลโนเบลคนนี้แสดงให้เห็นถึงการหวนกลับไปนิยมศิลปวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นโบราณและสะท้อนให้เห็นถึงความงามของวัฒนธรรมญี่ปุ่นอันเป็นความงามที่เชื่อมโยงกับโลกของตะวันออก แต่งานเขียนหลังสงครามของคะวะบะตะนั้นยังมีแง่มุมอื่นที่น่าสนใจ เช่น ประเด็นเรื่องของความเป็นชายที่พบว่ามีการศึกษาไม่มากนัก บทความนี้มุ่งศึกษาความเป็นชายในวรรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของ คะวะบะตะ ยะซุนะริ โดยตัวบทที่นำมาศึกษาในที่นี้คือนวนิยายเรื่อง เสียงแห่งขุนเขา และ นิทราเทวี เพื่อชี้ให้เห็นความสั่นคลอนของความเป็นชายในลักษณะอำนาจนำและมายาคติความเป็นชายแบบฉบับที่มีอำนาจปิตาธิปไตยโดยสมบูรณ์ในฐานะผู้นำครอบครัวที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น ผ่านการเล่าเรื่องราวจากมุมมองของตัวละครเอกชายที่ย่างสู่วัยชราในฐานะพ่อและหัวหน้าครอบครัวภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในวรรณกรรมดังกล่าว
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี