โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ของโชคชัย บัณฑิต
Keywords:
กวีนิพนธ์ไทย, โชคชัย บัณฑิต’, โลกทัศน์Abstract
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษา โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ ของโชคชัย บัณฑิต’ เพื่อให้เข้าถึงความหมายและคุณค่าของ บทประพันธ์ อันเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า โชคชัย บัณฑิต’ ใช้ความเป็นผู้สังเกตการณ์ตั้งข้อสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาการพัฒนาในช่วงพ.ศ. 2528 - 2553 (ตามบริบทของการแต่งบทประพันธ์) อันเป็นระยะเวลารวม 25 ปีนั้น การพัฒนามุ่งเน้นทางอุตสาหกรรมและมุ่งไปสู่ความทันสมัย จนทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความสับสนในคุณค่าของความเป็นมนุษย์และ เกิดวิกฤตทางจิตวิญญาณ แต่ในขณะเดียวกัน กวีก็ยังเชื่อมั่นในศักยภาพและความดีงามในจิตใจของมนุษย์ มนุษย์เท่านั้นที่จะแก้ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาที่ผิดพลาดและขาดความสมดุลได้จากประสบการณ์ และการเรียนรู้สัจธรรมจากธรรมชาติ แนวคิดที่ปรากฏในรวมบทกวีนิพนธ์ทั้ง 5 เล่มตั้งแต่ กังสดาลดอกไม้ (2534) ลมอ่อนตะวันอุ่น (2537) เงานกในร่มไม้ (2538) บ้านเก่า (2544) และ รูปฉายลายชีพ (2553) จึงมีทั้งการชี้ให้เห็นจุดอ่อนของมนุษย์และสังคม คุณธรรมที่มนุษย์พึงมี และข้อคิดทางปรัชญา
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี