มิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าในนวนิยายชุด “ผ้า” ของพงศกร

Authors

  • กิ่งผกา อังกาบ

Keywords:

มิติทางวัฒนธรรม, ผ้า, สื่อวัตถุเชิงวัฒนธรรม, นวนิยายชุด “ผ้า”

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าในนวนิยายชุด “ผ้า”ของพงศกร โดยศึกษาวิจัยผลงานนวนิยายชุด“ผ้า”ของพงศกรจำนวน 5 เรื่องการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
         ในนวนิยายชุด “ผ้า” ของพงศกรแสดงให้เห็นถึงมิติทางวัฒนธรรมที่มีทั้งความเหมือนและความต่างระหว่างบุคคลทั้งในลักษณะปัจเจกบุคคลและลักษณะของกลุ่มโดยการแสดงออกผ่านสื่อวัตถุ (ผืนผ้า) รวมทั้งสิ้น 6 ด้านด้วยกัน อันประกอบไปด้วย 1) มิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าด้านประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ 2) มิติชนชั้นของผืนผ้าบ่งบอกสถานะผู้สวมใส่ 3) มิติความเชื่อในผืนผ้าคือสื่อวัตถุเชิงวัฒนธรรม 4) มิติเวลาของผืนผ้าคือพื้นที่แห่งความทรงจำทางวัฒนธรรม 5) มิติผืนผ้าในวัฒนธรรมการแต่งงานและสถานะของบ่าว-สาว 6) มิติคุณค่าของผ้าจากวัฒนธรรมดั้งเดิมสู่วัฒนธรรมแบบตะวันตก
          ทั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่ามิติทางวัฒนธรรมทั้ง 6 ด้านนั้น มีลักษณะเป็นทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม เนื่องจากลวดลายผ้าเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่ซับซ้อนและเป็นสื่อวัตถุเชิงสัญลักษณ์ที่ ผู้หญิงใช้แสดงออกในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือความหมายออกไปยังสังคม ซึ่งความสำคัญของลวดลายผ้า นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ในแง่ของความเชื่อยังเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของผู้สวมใส่หรือเจ้าของเสื้อผ้า ผ้าจึงเป็นสื่อทางวัฒนธรรมเชิงวัตถุในโลกสมัยใหม่ที่มีมิติของมูลค่าเชิงสัญญะหรือความหมายมากกว่ามูลค่าอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงมิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าอาจแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมและกระแสแห่งผลกระทบจากสังคมโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้ผ้าถูกเปลี่ยนสถานะจากเครื่องนุ่งห่มกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่านำมาสู่การสร้างรายได้เพื่อการเลี้ยงชีพ  

Downloads

Published

29-06-2018

How to Cite

อังกาบ ก. (2018). มิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าในนวนิยายชุด “ผ้า” ของพงศกร. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 14(1), 81–116. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/131599