ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อรูปแบบการเลี้ยงปลาดุกอินทรีย์ในกระชังบกกรณีศึกษา อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สายรุ้ง สอนสุภาพ

คำสำคัญ:

ปลาดุก, กระชังบก, การเลี้ยงแบบอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อรูปแบบการเลี้ยงปลาดุกอินทรีย์ในกระชังบก ในอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการสำรวจแบบสอบถามกับเกษตรกรต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกอินทรีย์ในกระชังบกช่วงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564จำนวน 30 คน พบว่า เกษตรกรต้นแบบส่วนใหญ่มีทั้งเพศชาย และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50 อายุเกษตรกรต้นแบบส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ  41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.7 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.50, S.D. = 0.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านคุณภาพของการจัดกิจกรรม (=4.58, S.D. = 0.47) รองลงมาคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (=4.56, S.D. = 0.52) ด้านคณะทำงาน (=4.48, S.D. = 0.60) และด้านกระบวนการขั้นตอน ในการจัดกิจกรรม (=4.44, S.D. = 0.50) ตามลำดับการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงปลาดุกอินทรีย์ในกระชังบกเป็นที่พึงพอใจอย่างมากของเกษตรต้นแบบในอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรือเป็นอาชีพหลักทางการเกษตรด้านการประมงเพื่อเพิ่มอาหารในครัวเรือนและในชุมชน ทำให้ให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและเกษตรในชุมชนอาจมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

เผยแพร่แล้ว

2022-03-19