การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทุกชีวีปลอดภัย จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ ทุกชีวีปลอดภัย
กับเกณฑ์ ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 17 คน โรงเรียนบ้านบ่อปลา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค
จิ๊กซอว์ และแบบทดสอบ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์หลังการใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ ทุกชีวีปลอดภัย สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียน รู้ทุกชีวีปลอดภัย สูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
มาเรียม นิลพันธ์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ. คณะคุรุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
รัชนี ณ ระนอง. (2554). นโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับความยั่งยืนในอนาคต. กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
Stepka, Terry Hunkapiller. (1999). A Comparison of Cooperative Learning/the Jigsaw Classroom and Lecture at the Community College Level. Dissertation Abstracts International. 60(11): 3893-A.