ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โอกาสที่จะมีความเข้าใจสับสนกันระหว่างความขัดแย้ง (Conflict) ในเชิงวิชาการกับเชิงสังคมนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในบริบทสังคมไทย เพราะในความเข้าใจและลงความเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งของคนโดยทั่วไปเมื่อได้ยินหรือกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคลแล้ว มักจะหมายถึงการไม่ลงรอย หรือการทะเลาะกัน ตลอดจนการเป็นศัตรูกัน แต่ในเชิงวิชาการโดยเฉพาะในการบริหารองค์การแล้ว ความขัดแย้งเป็นเพียงความเห็นต่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในการตัดสินใจหรือการดำเนินงานขององค์การ อันอาจจะเกิดขึ้นจากความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ความเข้าใจ หรือประสบการณ์ของบุคคล นี่คือฐานคิดสำคัญของการจัดการความขัดแย้ง ที่ผู้บริหารและบุคลากรในองค์การควรทำความเข้าใจและแยกความแตกต่างดังกล่าวให้ได้ จึงจะทำให้การจัดการความขัดแย้งในองค์การประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความนี้ โดยมุ่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งในการบริหารองค์การ สาเหตุและแนวทางในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การต่อไป
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้