วารสารวิชาการมงกุฏทักษิณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช เป็นวารสารวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางส่งเสริมการเผยแพร่ องค์ความรู้ในด้านพระพุทธศาสนา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ บริหาร และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เข้ากับพระพุทธศาสนา ผลงานทั้งทางด้านการวิจัย และผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ในมิติด้าน พุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และบริหารการศึกษา ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed)  เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับคือ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน / ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม (ราย 6 เดือน) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน

ประเภทของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมงกุฏทักษิณ

       - บทความวิชาการ เป็นบทความที่เสนอเนื้อหาความรู้ ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้น ๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง

       - บทความวิจัย (Research article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน

การจัดเตรียมต้นฉบับ

       1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 10 – 15 หน้ากระดาษ A4  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK (ขนาดอักษร คลิกเพื่อดูตัวอย่าง) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบล่าง ขอบซ้ายและขวาเท่ากับ 1 นิ้ว หรือ 2.54 ซม. กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัด พร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

       2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องควรสั้น และให้ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง โดยให้พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง

       3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุวุฒิการศึกษาสูงสุด พร้อมระบุ ตำแหน่งทางวิชาการ พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่อง โดยเยื้องมาทางด้านขวา และให้ตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียน เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการและชื่อหน่วยงานพร้อมอีเมล

       4) มีบทคัดย่อภาษาไทย ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

       5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 6)เนื้อเรื่องควรใช้ภาษาที่ง่ายสั้นกะทัดรัดแต่ชัดเจนถ้าเป็นต้นฉบับภาษาไทยให้ยึดตามหลักพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning)

      7) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์ เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด

    8) ภาพ ให้ใช้ภาพสีหรือขาว ดำ ให้ชื่อกำกับภาพเรียงตามลำดับ ในเนื้อเรื่อง ให้พิมพ์คำอธิบายที่สั้นและชัดเจน ใต้รูปภาพ การจะได้ตีพิมพ์ภาพสีหรือไม่ ขึ้นกับการพิจารณาของกองบรรณาธิการ

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

       1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุปมีความกะทัดรัด และสั้นได้ใจความ

       2) บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัยกรอบแนวคิดและระบุวัตถุประสงค์การวิจัย

       3) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

       4) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

       5) อภิปรายผล (Discussion) เสนอเป็นความเรียงชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ตลอดจนแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบความคิดในการวิขันว่ามีความสอดคล้องหรือขัดแย้งอย่างไร

       6) องค์ความรู้ใหม่ (Originality and Body of Knowledge) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิจัย สังเคราะห์ออกมาในรูปแบบโมเดล พร้อมคำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างของโมเดลอย่างกระชับ เข้าใจง่าย

       7) สรุป (Conclusion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป

       8) ข้อเสนอแนะ (Suggestion) หมายถึง ประเด็นที่ผู้วิจัย เสนอแนะขึ้นมาจากผลการวิจัยหรือข้อค้นพบจากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อให้ข้อมูลคำแนะนำแนวทางหรือวิธีการใด ๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนา การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน หรือการบริหารจัดการ เป็นต้น

       9) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถที่ปรากฏในบทความเท่านั้น

บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

       1) บทคัดย่อ (Abstract)

       2) บทนำ (Introduction)

       3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ

       4) สรุป (Conclusion)

       5) เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA

ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการพร้อมตัวอย่างประกอบ (คลิกเพื่อดูตัวอย่าง)