ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย ของประชาชนเจนเนอเรชั่น Z กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย ของประชาชนเจนเนอเรชั่น Z กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ของประชาชนเจนเนอเรชั่น Z กรุงเทพมหานคร กับการมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย ของประชาชนเจนเนอเรชั่น Z กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประชากรการวิจัยคือ ประชาชนเจนเนอเรชั่น Z กรุงเทพมหานคร ใช้ตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสะดวก
ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย ของประชาชนเจเนอเรชั่น Z กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตยแตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยด้านผลตอบแทนและด้านลักษณะทางจิตวิทยา โดยสมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 53.10 โดยสามารถเขียนสมการได้ดังนี้
Ytot = 0.129 + 0.063 (ด้านความรู้ทางการเมือง) + 0.172 (ด้านลักษณะทางจิตวิทยา) + 0.056 (ด้านการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง) + 0.580 (ด้านผลตอบแทน)
1นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยสยาม
2อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
เฉลียว บุรีภักดี. (2545). การวิจัยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ๊นติ้ง แมสโปร-ดักส์.
ชนินธร ม้าทอง. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง Political Communication Concept. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2 (1), 163-175.
ณัฐภน ลิมปิเจริญ. (2567). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามการรับรู้ของประชาชน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(2), 54-69.
ณิชกานต์ สอยโว. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วรรณี ปังสกุลยานนท์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิสุทธิ โพธิแท่น. (2551). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
สมพิศ คล้ายวงษ์. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุ 18-20 ปี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุริยา วีรวงศ์. (2539). ระเบียบวิธีวิจัย: และเทคนิคของการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน.
โสภา ยอดคีรีย์. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.
โอภาส จิตระยนต์. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Alodat, A. M., Al-Qora’n, L. F., & Hamoud, M. A. (2023). Social media platforms and political participation: A study of Jordanian youth engagement. MDPI Social Sciences, 12(7), 402.
Zakhour, S. (2020). The democratic legitimacy of public participation in planning: Contrasting optimistic, critical, and agnostic understandings. SAGE Planning Theory, 19(1), 1-22.