ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สรรค์ชัย กิติยานันท์
สุทธิพจน์ ศรีบุญนาค
สุภัตรา กันพร้อม
มานิต คำเล็ก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับปัจจัยในการกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกในกลุ่มธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 299 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่ากำหนดคำตอบเป็น 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้วิธีการทดสอบรายคู่ของเชฟเฟ่และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
          1. กระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า กระบวนการจัดการธุรกิจชุมชน ในภาพรวม มีการบริหารงานอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ ด้านการควบคุม และด้านการวางแผน และประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในภาพรวม มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการตลาด ด้านการเงิน และด้านการผลิต
           2. การเปรียบเทียบกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ พบว่า 1) ด้านกระบวนการจัดการ สมาชิกในกลุ่มธุรกิจชุมชนที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดการของธุรกิจชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสมาชิกในกลุ่มธุรกิจชุมชนที่มีเพศ อายุ และตำแหน่งงานต่างกัน มีความเห็นต่อกระบวนการจัดการของธุรกิจชุมชน ไม่แตกต่างกัน และ 2) ด้านประสิทธิภาพ สมาชิกในกลุ่มธุรกิจชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ในกลุ่มต่างกัน มีความเห็นต่อประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ไม่แตกต่างกัน
          3. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ด้านภาพรวม พบว่า ในภาพรวมไม่มีค่าความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการผลิตมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางที่ระดับ .05 ระดับความสัมพันธ์ทุกด้านมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยที่สุด


*1-4 อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณทิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี 71190
Corresponding author: Sanchai1969@yahoo.co.th

Article Details

How to Cite
กิติยานันท์ ส. ., ศรีบุญนาค ส. ., กันพร้อม ส. ., & คำเล็ก ม. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการและประสิทธิภาพของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 88–101. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.7 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2555). หลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.

กฤษฎ์ อุทัยรัตน์. (2555). แรงงานสัมพันธ์แบบสร้างสรรค์และยั่งยืน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563 จาก: http://hbs.hu.ac.th/old/activity/event/550219_G_HR/index.html

กรณ์ ปลอดมณี เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ และสุรพร เสี้ยนสลาย.(2556).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดฝึกอบรมด้านช่างให้กับบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมทางหลวงชนบท : กรณีศึกษาพื้นที่ สำนักทางหลวงชนบทที่ 1.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ .7 (2).1-15.

ณรงชัย นวลจันทร์ และ สุธาสินี ศิริโภคาภิรมย์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของนักศึกษาภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี .ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธีร์วรา บวชชัยภูมิ. (2559). กระบวนการการบรรจุภัณฑ์สินค้าสำหรับการขนส่งสินค้าทางเรือด้วยตู้คอนเทนเนอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.สาขาการจัดการโลจิสติกส์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธุวนันท์ พานิชโยทัย. (2551). พัฒนาการระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

นภาพร ขันธนภา. (2553). กระบวนการการบริหาร. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2551). โน้ตย่อบริหาร. เชียงใหม่ : ออเร้นจ์ กรุ๊ป ดีไซต์.

นันท์นภัส พงศ์โภคินสถิต และ บุญทิวา โง้วศิริมณี.(2552). การบริหารจัดการของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). Modern Management การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ประเวศน์ มหารัตน์กุล. (2556). การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

พนาพร สมฤทธิ์. (2554).การพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดของสินค้า OTOP เค้กลำไย จังหวัดลำพูน. ปัญหาพิเศษ.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.สาขาบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เพียงใจ น้อยดี. (2553). การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.

เรืองยศ แวดล้อม. (2556). การบริหารการศึกษา. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563 จาก: http://lek56.edublogs.org

ละอองศรี เหนี่ยงแจ่ม. (2551). หลักการจัดการ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563 จาก: http://203.158.184.2/eLearning/Management /unit1401.htm

วรรณา สุภาพุฒ. (2553). การศึกษาปัญหาการวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศศิรดา โชหิตชาติ. (2551). การควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563 จาก: http://www.dpu.ac.th/business/upload/tutorial/.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติฒ และชวลิต ประภวานนท์. (2552). การบริหารสำนักงานแบบใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิมล์ และไซเทค.

สามารถ แทนวิสุทธิ์. (2557). การเปรียบเทียบกระบวนการบริหารและผลการดำเนินงาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561).สมาชิกในกลุ่มธุรกิจชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี.ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563 จาก

https://kanchanaburi.cdd.go.th/

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2550). ยุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.

เสถียรณภัส ศรีวะรมย์. (2559).ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินการส่งเสริมธุรกิจชุมชน ของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร .วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2 (1),208-225.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2553). วิทยาการวิจัย. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อุษา เหล่าต้น ประโยชน์ ส่งกลิ่น และ วินัยผลเจริญ. (2560).การจัดการวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (1), 24-37.