ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล : การศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด

Main Article Content

บุญฑริกา วงษ์วานิช
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

                งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อศึกษา 1. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 2. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตที่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 3. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 4. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 5. อิทธิพลของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล และ 6. อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่างความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย จำนวน 500 ราย โดย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถามที่ใช้มีการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ราย และหาค่าความเชื่อมั่นแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เส้นทาง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตมีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.42 ทางและอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.73
                2. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัต มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.85 0.74 และ 0.86 ตามลำดับ
                3. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.15 และอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.20
                4. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อนวัตกรรมด้านกระบวนการ ของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.25 แต่ อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศจะไม่มีต่อนวัตกรรมด้าน ผลิตภัณฑ์และการตลาด
                5. อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวมได้แก่ 0.43 และ 0.13 ส่วน อิทธิพลของนวัตกรรมด้านการตลาดไม่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล
                6. อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่างความสามารถเชิงพลวัตต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลมีผลอย่างมีนัยสำคัญค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.31 แต่ อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่างคุณภาพสารสนเทศ ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลพบว่า ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.05


* คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
Corresponding author: krisada.dba@gmail.com

Article Details

How to Cite
วงษ์วานิช บ. . ., & เชียรวัฒนสุข ก. . (2021). ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล : การศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 422–445. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.56
บท
บทความวิจัย

References

กรธวัตน์ สกลคฤหเดช สุกิจ ขอเชื้อกลาง และลภัสรดา จ่างแก้ว. (2559). ความสามารถเชิงพลวัต ความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 225-238.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2562). ความท้าทายจากผลวัตของเทคโนโลยีดิจิทัล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://op.mahidol.ac.th/rm/wp-content/uploads/2019/04/Info-Challenges-from-the-dynamics-of-digital-technology_Apr.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กิตติ ภักดีวัฒนกุล และพนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์. (2558). การเงินและการบัญชีเพื่อการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรสวัสดิ์ มงคลชัยอรัญญา สุจินดา เจียมศรีพงษ์ ชาตรีปริดา อนนทสุข และปกรณ์ ประจันบาน. (2557). ความสามารถเชิงพลวัตที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันธุรกิจส่งออกอาหารในประเทศไทย.วารสารการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 7 (2). 164-175.
พิมกาญดา จันดาหัวดง และพลอยพรรณ สอนสุวิทย์. (2561). ความสามารถเชิงพลวัต การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและความสามารถทางการแข่งขัน. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4 (น.386-406). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
พีรยสถ์ อยู่ประพัฒน์ และ ตรีเนตร ตันตระกูล. (2563). การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(1), 480-494.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). Digital transformation. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.nbtc.go.th/getattachment/News/Information/28909/Digital-Transformation.pdf.aspx
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563).การจดแจ้งบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2563, จาก https://www.sme.go.th/th/?
สุภาพรรณ วัฒนาอุดมชัย. (2559). SMEs ไทยยุคใหม่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวทัน e-Commerce. กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.
Abualloush, S., Bataineh, K., & Aladwan, A. S. (2017). Impact of information systems on innovation (product innovation, process innovation)-field study on the housing bank in Jordon. International Journal of Business Administration, 8(1), 95-105.
Cabral, J. D. O. (2010). Firms' dynamic capabilities, innovative types and sustainability: a theoretical framework. In Embrapa Agroindústria Tropical-Artigo em anais de congresso (ALICE). International conference on industrial engineering and operations management, 16., 2010, São Carlos. Anais... Rio de Janeiro: Associação Brasileira de Engenharia de Produção, 2010.
Chien, S. Y., and C. H. Tsai. (2012). Dynamic Capability, Knowledge, Learning, and Firm Performance. Journal of Organization Change Management, 25 (3): 434-444.
Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Eisenhardt, K. M., & Martin, J. A. (2000). Dynamic capabilities: what are they? Strategic management journal, 21(10‐11), 1105-1121.
Garrison, R. H., & Noreen, E. W. (2000). Managerial accounting. New York: McGraw-Hill.
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). London: Pearson Education Limited.
Kaplan, R. S., Kaplan, R. E., Norton, D. P., Davenport, T. H., & Norton, D. P. (2004). Strategy maps: Converting intangible assets into tangible outcomes. Harvard Business Press.
Krasnikov, A., & Jayachandran, S. (2008). The relative impact of marketing, research-and-development, and operations capabilities on firm performance. Journal of marketing, 72(4), 1-11.
Lee, T-S. and Tsai, H-J. (2005). The effects of business operation mode on market orientation, learning orientation and innovativeness. Industrial Management & Data Systems, 105(3), 325-348.
Lin, H., Su, J., & Higgins, A. (2015). How dynamic capabilities affect adoption of management innovation. Retrieved July 23, 2020, from http://www. sciencedirect.com/science/article/pii/S0148296315002878
Novi, T., Zaki, B., & Bambang, H. (2017). The influence of information system quality on the organization performance: A modification of technology-based information system acceptance and success model. Russian Journal of Agricultural and Socio-Economic Sciences, 72(12).1-14.
Poels, G., & Cherfi, S. S. S. (2006, November). Information quality, system quality and information system effectiveness: introduction to QoIS’06. In International Conference on Conceptual Modeling (325-328). Springer, Berlin, Heidelberg.
Rehman, K. U., & Saeed, Z. (2015). Impact of dynamic capabilities on firm performance: Moderating role of organizational competencies. Sukkur IBA Journal of Management and Business, 2(2), 20-42.
Richard, P. J., Devinney, T. M., Yip, G. S., & Johnson, G. (2009). Measuring organizational performance: Towards methodological best practice. Journal of Management, 35(3), 718-804.
Rogers, E. M. (2010). Diffusion of innovations (4th ed.). New York: Simon and Schuster.
Saenchaiyathon, K., & Liengjindathaworn, S. (2019). An Influence of Dynamic Capability to Corporate Performance. TEM Journal, 8(3), 848.
Saunila, M. (2014). Innovation Capability for SME Success: Perspectives of Financial and Operational Performance. Journal of Advance in Management Research, 11 (2): 163-175.
Schaltegger, S. Lüdeke-Freund, F. and Hansen, E. G. (2012). Business Cases for Sustainability: The Role of Business Model Innovation for Corporate Sustainability. International Journal of Innovation and Sustainable Development, 6 (2). 95-119.
Schilling, M. A. (2008). Strategic management of technology innovation. (2nd Ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Sirirak, S., N. Islam, and D. B. Khang. (2011). Does ICT Adoption Enhance Hotel Performance? Journal of Hospitality and Tourism Technology, 2: 34-49.
Sudirman, I., Govindaraju, R., & Pratiwi, A. A. (2014). Information System Quality and Its Impact on Individual Users’ Benefit: Analyzing the Role of Knowledge Enablers. Journal Teknik Industri, 16(2), 65-72.
Tangpinyoputtikhun, P. (2009). Dynamic capabilities and sustainable competitive advantage: empirical evidence from Thailand (Doctor Dissertation).Mahasarakham: Mahasarakham University.
Tuominen, M. Rajala, A. and Moller, K. (2004). How does adaptability drive firm innovativeness? Journal of Business Research, 57(5):495-506. DOI:10.1016/S0148-2963(02)00316-8
Visser, W. (2017). Innovation Pathways Towards Creating Integrated Value: A Conceptual Framework. International Humanistic Management Association, Research Paper Series No. 17-41, Retrieved July 23, 2020, from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3045898
Wang, C. L., & Ahmed, P. K. (2007). Dynamic capabilities: A review and research agenda. International Journal of Management Reviews, 9(1), 31-51.
Wiliams, R. S. (2002). Managing employee performance: Design and implementation in organization. London: Thomson.
Zhou, S. S., Zhou, A. J., Feng, J., & Jiang, S. (2019). Dynamic capabilities and organizational performance: The mediating role of innovation. Journal of Management & Organization, 25(5), 731-747.
Zizlavsky, O. (2012). The development and implementation of marketing information system within innovation: The increasing of innovative performance. Entrepreneurship–Creativity and Innovative Business Models. eBook (PDF) ISBN: 978-953-51-4339-0 Retrieved July 23, 2020, from https://www.intechopen.com/books/2262