การบริหารความเสี่ยงของผู้พักอาศัยอาคารชุด ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการกิจกรรมของนิติบุคคลของผู้พักอาศัยของ ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1 โดยศึกษาจาก ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้พักอาศัย และการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดอันประกอบด้วยปัจจัยด้านการบริหารจัดการสถานที่ (Place) กระบวนการปฏิบัติงาน (Process) และทรัพยากรบุคคล (People) ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่า มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการกิจกรรมอาคารชุด ในส่วนประชากรในการศึกษานี้คือผู้พักอาศัยอาคารชุด ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1 ในปัจจุบัน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 216 คน จากนั้น จึงรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานธุรกิจเอกชน ช่วงรายได้ระหว่าง 15,001 – 30,000 บาทต่อเดือน ส่วนความเห็นต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพ พบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นในระดับดีมาก คือ ด้านคนหรือบุคลากร รองลงมาคือ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านสถานที่ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นในการการจัดการกับความเสี่ยงอาคารชุดของผู้พักอาศัยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านที่มีระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ การบริหารจัดการทางการเงินในประเด็นของการเรียกเก็บเงินผู้เช่าให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และเจ้าของอาคารได้รับเงินครบถ้วน ประการต่อมาคือ ด้านการจัดการความเสี่ยงการปฏิบัติการ ประเด็นที่มีระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ ประเด็นที่เจ้าหน้าที่ต้องดูแลรักษาอาคารตามที่กฎหมายอาคารชุด และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องตามที่ทางราชการกำหนดไว้ การปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นประเด็นที่มีระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ ให้ผู้พักอาศัยมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อข้อความตามกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของทางอาคารชุด
* วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 12150 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ดร.พิชญะ อุทัยรัตน์
Corresponding author: ut.pichaya@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กุลิสรา เปล่งศรี. (2560). คุณภาพการให้บริการของนิติบุคคลอาคารชุดลาซาลพาร์ค อาคาร A สุขุมวิท 105. Southeast Bangkok Journal, 3(2), 30-39.
ฐิตารีย์ ฉ่องสวนอ้อย. (2559). การประเมินความเสี่ยงของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน). (2562). ข้อมูลอาคารชุดไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/3jjmvNS.
พลอยไพลิน สกลอรรจน์. (2561). การจัดการความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย
วิชชุลดา ศรีบุตร. (2561). การบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของนิติบุคคลอาคารชุด ในกรุงเทพ และปริมณฑล. The Journal of Pacific Institute of Management Science (Humanities and Social Science), 4(2), 233-246.
วันวิสา งามวัฒนาเจริญ. (2553). การบริหารจัดการอาคารชุดพักตากอากาศ: กรณีศึกษาโครงการ สมบัติพัทยาคอนโดเทล .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
เสริชย์ โชติพานิช.(2549). แนวคิดการบริหารทรัพยากรกายภาพสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยแบบรวม..วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2.103-118.
โสภาพร ร่มพูลทอง. (2554). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการชุมชนในโครงการบ้าน เอื้ออาทร: กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑลสาย 4, โครงการบ้านเอื้ออาทร พุทธ มณฑลสาย 5 และ โครงการบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑล สาย 5 (อ้อม น้อย) จังหวัดนครปฐม .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หาญศึก หับสุภา . (2553). การบริหารจัดการอาคารชุดพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษา อาคารชุดพักอาศัย เคหะชุมชนร่มเกล้าระยะ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อิศร เศรณี. (2555). ความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อการดำเนินการของส่วนกลางของนิติบุคคล อาคารชุดรังสิตซิตี้ (แฟลตปลาทอง). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Yamane.T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.