ปัจจัยในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และ 2) อิทธิพลของปัจจัยในการทำงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ จำนวน 340 คน จากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งประกอบด้วย
2 เทศบาล และ 5 องค์การบริหารส่วนตำบล ทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน ด้านสัมพันธภาพภายในองค์กร และด้านสภาพแวดล้อมในองค์กรทำงาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพภายในองค์กร 2) ปัจจัยในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร (β = 0.367) และด้านบทบาทหน้าที่ (β = 0.323) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภาพรวม ได้ร้อยละ 32.7 และเขียนสมการได้ดังนี้
Y=0.018X1+0.323X2**+0.025X3+0.031X4+0.363X5**
* หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
** สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
Corresponding author: krisada_c@rmutt.ac.th
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรัญญา สกุลรักษ์. (2561). ปัจจัยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านความสามารถ และปัจจัยด้านความสำเร็จที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัพระนครศรีอยุธยา.
สุพัฒน์ ปิ่นหอม มณฑิรา ลีลาประชากุล นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วิวัฒน์ วรวงษ์ นันทพงศ์ หมิแหละหมัน และเฉลิมชาติ เมฆแดง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. วารสารวิชาการสถาบัน
เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 3(2): 520-533.
สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การไม่แสวงหาผลกำไร กรณีศึกษา มูลนิธิแสงธรรมส่องหล้า กรุงเทพมหานคร. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏ สุราษฎร์ธานี. 5(1): 93-121.
อิสริยา รัฐกิจวิจารณ์ ณ นคร. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (จันทบุรี-ตราด). รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบัติิงานของข้าราชการตตำรวจกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Esther, M. (2016). Occupational Stress and Employee Performance: A Case Study of Kenya National Highways Authority (KeNHA). Master of Science Human Resource Management Candidate Department of Business Administration, School of Business Kenyatta University