พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี และ (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ประชากร ได้แก่ ผู้บริโภคที่เลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 ราย จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์สถิติที่ไม่คำนึงถึงลักษณะการแจกแจงของประชากร ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ซื้อเครื่องประดับอัญมณีประเภทแหวน และซื้อ เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี จำนวนเงินที่ตัดสินใจอยู่ที่ราคาต่ำกว่า 5,000 บาท ตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีด้วยตนเอง ซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่ตัวเรือนทำมาจากทองคำขาว และประกอบจากแร่อัญมณีมีค่าที่เป็นพลอยเนื้อแข็ง ซื้อที่ร้านเพชรทองเครื่องประดับอัญมณีทั่วไป และซื้อจากร้านจำหน่ายที่มีชื่อเสียง/น่าเชื่อถือ ในช่วงเวลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อคือราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องประดับอัญมณี จากการบอกต่อจากบุคคลอื่น แต่ไม่มีผลในการตัดสินใจซื้อ และมีการวางแผนล่วงหน้าก่อนการตัดสินใจซื้อ
2. ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี ได้แก่ (2.1) เพศ มีความสัมพันธ์กับการเลือกซื้อประเภทของเครื่องประดับอัญมณี จำนวนครั้งเฉลี่ยที่ซื้อ เหตุผลในการเลือกซื้อ และเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ (2.2) อายุมี ความสัมพันธ์กับ การเลือกซื้อประเภทของเครื่องประดับ อัญมณี จำนวนครั้งเฉลี่ยที่ซื้อ เหตุผลในการเลือกซื้อ ลักษณะของร้านที่เลือกซื้อสินค้า เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ และการวางแผนการซื้อ (2.3) สถานภาพ มีความสัมพันธ์กับ ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับ อัญมณี การวางแผนการซื้อ (2.4) ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับ ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณี ลักษณะของร้านที่เลือกซื้อ และแหล่งข้อมูลที่ได้รับมีผลต่อการซื้อเครื่องประดับอัญมณี (2.5) อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการเลือกซื้อประเภทของเครื่องประดับอัญมณี จำนวนครั้งเฉลี่ยที่ซื้อ เหตุผลในการเลือกซื้อ เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ และการวางแผนการซื้อ และ (2.6) รายได้ มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการเลือกซื้อประเภทของเครื่องประดับอัญมณี จำนวนครั้งเฉลี่ยที่ซื้อ เหตุผลในการเลือกซื้อ และการวางแผนการซื้อเครื่องประดับอัญมณี โดยเป็นความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ .01
* อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณทิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 71000
Corresponding author: nuttaya.kru@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
บุญกิต จิตรงามปลั่ง. (2561). การพัฒนานโยบายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9 (3) : 88-98.
ภัทรพิมพ์ พิมพ์ภัทรยศ. (2551). พฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับอัญมณี ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างปี 2558-2559 [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2561 จาก https://thaitextile.org/th/insign/detail.460.1.0.html.
เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2562). ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องประดับอัญมณีของชาวไทยและชาวต่างชาติ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12 (2) : 43-51.
Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action. Cincinnati, Ohio : South-Western College Pub., c1998.
Bogomolova, S., Vorobyev, K., Page, B., and Bogomolov, T. (2016). Socio-demographic differences in supermarket shopper efficiency. Australasian Marketing Journal (AMJ), 24(2), 108-115. doi:https://doi.org/10.1016/j.ausmj.2016.01.002
Cochran,W.G. (1953). Statistical Problems of the Kinsey Report. Journal of the American Statistical Association, 48(264), 673-716. doi:10.1080/01621459.1953.10501194
Kotler.P. (1994). Reconceptualizing marketing: An interview with Philip Kotler. European Management Journal, 12(4),353-361. doi:https://doi.org/10.1016/0263-2373(94)90021-3
Kotler, P. and Armstrong, G. (1997). Marketing: An Introduction. (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Pearson Education.
Kotler, P. and Gary, A. (1996). Principles of Marketing. (7th ed.). NJ: Englewood Cliffs, NJ: Pearson Education.
María, V., Sebastian, M., and Francisco, M.-L. (2017). Segmentation and explanation of smartphone use for travel planning based on socio-demographic and behavioral variables. Industrial Management and Data Systems, 117 (3), 605-619. doi:10.1108/imds-03-2016-0089
Peighambari, K., Sattari, S., Kordestani, A., and Oghazi, P. (2016). Consumer Behavior Research. SAGE Open, 6(2), 2158244016645638. doi:10.1177/2158244016645638