ความสำเร็จในการบริหารโครงการเพื่อยกระดับศักยภาพหมู่บ้านตามนโยบายประชารัฐ

Main Article Content

ธนบัตร ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านตามแนวทางประชารัฐแต่ละจังหวัด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐของแต่ละจังหวัด และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการบริหารนโยบายรัฐสู่การปฏิบัติ
               การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 60 คน ประกอบด้วย ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบโครงการ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในพื้นที่ ข้อมูลที่เก็บได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
               ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านเพื่อการแก้ไขปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำโครงการ โดยมีผู้นำหรือประธานผู้ให้ข้อเสนอแนะ กระตุ้นทางความคิด และให้ข้อมูลในการตัดสินใจ ตลอดจนมีการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ในการเข้ามาแก้ไขปัญหาร่วมกัน นอกจากนี้ ประชาชนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าวได้เข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกโครงการที่ให้ประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนมากที่สุด หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของชุมชนนั้น พบว่า ชุมชน/หมู่บ้าน ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐ ถึงแม้จะมีเวลากระชั้นชิด เร่งรัด แต่ก็สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนหมู่บ้านได้มีการจัดทำแผนความต้องการของประชาชนไว้แล้ว อีกทั้งมีความพร้อมในการร่วมกลุ่มด้วยความสมัครใจ มีการแสดงออกในการแสดงความคิดเห็นในนโยบายหรือโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ของตนเอง


* นักศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170.
ดุษฎีนิพนธ์ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์ นิยมญาติ
Corresponding author: siripat_on@yahoo.com

Article Details

How to Cite
ศรีสวัสดิ์ ธ. (2020). ความสำเร็จในการบริหารโครงการเพื่อยกระดับศักยภาพหมู่บ้านตามนโยบายประชารัฐ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 248–260. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.19
บท
บทความวิจัย

References

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร.(2551) ทุนทางสังคม (social capital) : การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ กรณีศึกษา อ.เมือง และ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2553). โครงการสานพลังประชารัฐ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561,จาก http://www.สานพลังประชารัฐ.com/committee/.

พัชรินทร์ วรดิถี. (2559). สานพลังประชารัฐ: การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กรุงเทพมหานคร:กองวิชาการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ศิรินันท์ ทิพย์เจริญ (2555) ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย.วารสารสหวิทยาการวิจัย. 1 (2), 97-103.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). นโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560, จาก http://www. thaigov.go.th/index.php/th/government-th1/item/102750-102750

สำนักงานประสานงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. (2559). คู่มือประชารัฐรักสามัคคี ฉบับที่ 2. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก http://www.prsthailand.com/wp-content/ uploads/2016/07/Manual_V2.pdf

เสาวลักษณ์ สุขวิรัช (2549). ทางสองแพร่งของจริยธรรมการบริหาร (The Dilemma of Administrative Zeitgeists). เอกสารการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 : 643-662.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2550).การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row

Northouse, P. G. (2004). Leadership: Theory and practice. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Yukl, Gary A. (1994). Leadership in Organization. New Jersey: Prentice - Hall.