ทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีองค์กรรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง)

Main Article Content

นุจรี อร่ามรัตนพันธุ์

บทคัดย่อ

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีองค์กรรัฐวิสาหกิจตามกรอบมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ผู้ให้ข้อมูลหลักของการศึกษาครั้งนี้คือบุคลากรในหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานจำนวน 21 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ประเด็นหลักโดยการจำแนกกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 3 เรื่องการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก (ทักษะทางวิชาชีพ)
                ผลการศึกษาพบว่า (1) ทักษะวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยในปัจจุบันประกอบด้วย ทักษะทางปัญญา ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการจัดการองค์กร (2) ทักษะทางวิชาชีพที่ต้องการสำหรับนักบัญชีในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21 ที่มีความสำคัญ ได้แก่ ทักษะการประเมินข้อมูล ทักษะปฏิบัติงานในระดับต้นที่ต้องใช้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเครื่องมือและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้เหตุผล การทำงานเป็นทีม ตระหนักเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษา เปิดใจกว้างรับโอกาสใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้ทักษะการบริหารคน (3) ทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับระดับหัวหน้างาน คือ ทักษะทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร และระดับผู้ปฏิบัติงาน คือ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางวิชาชีพมีความสำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้พัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารควรพัฒนาทักษะทางวิชาชีพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเร่งด่วน และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางวิชาชีพบัญชีของสถานศึกษาควรคำนึงถึงการเสริมสร้างทักษะทางวิชาชีพทั้ง 4 ด้าน คือ ทักษะทางปัญญา ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการจัดการองค์กร


*หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบัญชี) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยมงคล ผลแก้ว
Corresponding author: nujaree_a@mail.rmutt.ac.th

Article Details

How to Cite
อร่ามรัตนพันธุ์ น. . (2020). ทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีองค์กรรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง) . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 173–185. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.13
บท
บทความวิจัย

References

ชัยมงคล ผลแก้ว กุสุมา ดำพิทักษ์ สายจิต วัชรสินธุ กิ่งกาญจน์ มูลเมือง และ นภาพร เตรียมมีฤทธิ์. (2560). การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาในทางวิชาชีพบัญชีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยสำหรับการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. RMUTT Global Business and Economics Review, 12 (1), 145-160ธภมร เกื้อกูลวงศ์. (2554). ความต้องการของนักบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ. การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธภมร เกื้อกูลวงศ์. (2554). ความต้องการของนักบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ. การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิพาดา แก้วปัญโญ. (2554). การประเมินทักษะทางวิชาชีพบัญชีในสังกัดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2555). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชี : มุมมองผู้บริหารงานสายบัญชีในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มนู อรดีเชษฐ ธุรกิจ. (2558). ธุรกิจในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://www.creativevill.com.

แววดาว พรมเสน. (2554). การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน,4 (1), 95-102

วิจารณ์ พานิช. (2555.) การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศรัณย์ ชูเกียรติ และประจิต หาวัตร. (2548). การวิเคราะห์การปฏิบัติงานและการสำรวจทักษะที่จำเป็นของนักบัญชีบริหารในบริษัทขนาดใหญ่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 1 (2), 32-43

ศุภมิตร พินิจการ และคณะ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีกรมสรรพาสามิต. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 2 (2), 23-35

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

Anderson, L W, & Krathwohl D R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. NewYork: Longman.