แนวทางการพัฒนาความภักดีด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมาย 1. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนาความภักดีของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย และ 2. ค้นหาแนวทางการพัฒนาความภักดีของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำในประเทศไทยจำนวน 400 ราย ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการนำเที่ยวจีนในประเทศไทย จำนวน 5 ราย ทำการสอบถามแนวทางการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย โดยนำผลที่จากการทำวิจัยเชิงปริมาณเข้าร่วมก่อนทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ส่วนประสมการตลาด มีผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่าส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และ การส่งเสริมการตลาดจะมีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.66 และ 0.44 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 27 และสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
Y = 2.42+0.66 ผลิตภัณฑ์* +0.34 ราคา +0.19 ช่องทางการจัดจำหน่าย +0.44 การส่งเสริมการตลาด*
2. แนวทางการพัฒนาความภักดีของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย สรุปได้ว่า การพัฒนาความภักดีของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย ต้องเกิดจากการสร้างความเข้าใจ และสัมพันธภาพที่ดี ในเรื่องการให้บริการ การจราจร ระบบโทรคมนาคม การรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้นักท่องเที่ยวจีนส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะมาเที่ยวประเทศไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การพัฒนาในจุดอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความประทับใจในการท่องเที่ยว และการบอกต่อความประทับใจไปยังญาติมิตร และเพื่อนต่อไป
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000 ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ ดร. ไพรัช มากกาญจนกุล และ อาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author: jialially@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยว มกราคม-ธันวาคม [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561 จาก http://www.tourism.go.th/uploades/Stat/2065.pdf. .
ซิน หลิว.(2556).แนวทางการตลาดสำหรับบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวไทย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระ.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (2) :70-90.
ธีรพงศ์ เที่ยงสมพงษ์. (2551). โมเดลเชิงสาเหตุของความจงรักภักดีต่อการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ.
ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (2547). ความภักดีของลูกค้า. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561 จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004nov30p5.htm
นรพรรณ โพธิพฤกษ์ จิตรา บุญตัน และทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ.(2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวจีน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 7 (2).132-142.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2549) .การจัดนำเที่ยวและรายการนำเที่ยวภาคเหนือตอนบน.กรุงเทพมหานคร : เพรส แอนด์ ดีไซน์.
โพสต์ทูเดย์. (2561). ต่างชาติทะลักเที่ยวไทย ไตรมาสแรกกว่า10ล้านคนโต15.39%. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561 จาก https://www.posttoday.com/economy/news/548379
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ ปณิศา มีจินดา อรทัย เลิศวรรณวิทย์ ปริญ ลักษิตานน องอาจ ปทะวานิช และจิระวัฒน์ อนุชชานนท์ .(2552). การบริหารการตลาดใหม่. กรุงเทพมหานคร :Diamond In Business World.
สมิต สัชฌุกร. (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ (Excellence service). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สายธาร.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์.(2549). การบริหารท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพมหานคร :บริษัทสามเจริญพาณิชย์.
สุชาริณี เที่ยงแท้ กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์ และศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 15 (1) :203-210.
แสงเดือน รตินธร.(2555).ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.).18 (2) :84-104.
Kotler, P. (2006). Marketing management. (13th ed.). Eaglewood Cliffs, NJ: Pearson education.
Kotler, P. and Keller, K. (2009) marketing management. (13th ed..) Englewood Cliffs, NJ: Pearson Education.
Schiffman.L.G and Kanuk.L.L (2010). Consumer Behavior. (10 th ed.) Pearson Prentice Hall.
Swarbrooke, J and Horner, S (1999) Consumer Behaviour in Tourism. Butterworth-Heinemann.
Yamane,T. (1976). Statistic: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.