แนวทางการพัฒนาคุณภาพนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พระมหานิวัติชัย คำเหมือน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบ คุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2. ศึกษาอิทธิพลของความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกับ การบริหารและพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และ 3. ค้นหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนที่เข้าร่วมศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย โดยค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นด้าน การบริหารและพัฒนา ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนเท่ากับ 0.75-0.85 ความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่ากับ 0.71-0.73 และ คุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เท่ากับ 0.73-0.79 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ อาจารย์ที่เป็น พระ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 4 รูป ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interviews) เพื่อหาแนวทางในการบริหารการพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. คุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้าน เพศ การศึกษา สถานภาพอาศัย อาชีพบิดาและอาชีพมารดา
                2. อิทธิพลของความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการบริหารพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พบว่า ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อันได้แก่ การสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนมีผลต่อ การพัฒนาคุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ส่วน อิทธิพลของการบริหารพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เกิดจาก ด้านการใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร และด้านการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง สรุปได้ว่า ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการบริหารพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพนักเรียนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีอำนาจการพยากรณ์ทั้งสิ้นร้อยละ 62 โดยปัจจัยที่ส่งผลในสองลำดับแรกได้แก่ การสนับสนุนจากโรงเรียน (b=0.26) และด้านการใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี (b=0.11) ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
                Y = 1.40+0.02 X1+0.11 X2**+0.06 X3**+0.06 X4*+0.08 X5**+0.07 X6**+0.26 X7**
                3. แนวทางในการพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ต้องเกิดจาก ความร่วมมือระหว่าง วัด บ้าน โรงเรียน การศึกษาเช่นนี้เป็นสิ่งที่คู่กันมาอย่างยาวนาน และทั้ง 3 สิ่งนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอีกทั้งมีบทบาทในการพัฒนาเด็กนักเรียนด้วยให้เกิด ความรู้ ความดี และความสุข แม้ว่า การพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมอาจจะมีปัญหาบ้างในเรื่องความร่วมมือจากผู้ปกครอง และการขาดแคลนบุคลากร แต่สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขปัญหาไปได้ ด้วยความเข้าใจ อาศัย แนวทางการพัฒนาคือ ให้ผู้ปกครองเข้ามาศึกษาพร้อมกับทางเด็กที่ตนปกครองด้วยกัน เมื่อผู้ปกครองมาร่วมศึกษาด้วย จึงจะได้ความรู้ไว้บอกต่อกับบุตรหลานของตน และคนอื่นๆต่อได้ การพัฒนาคุณภาพนักเรียนควรจัดรูปแบบการสอนให้หลายรูปแบบ แทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอน ควบคู่กันทั้งทางโลกและทางธรรม ต้องปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปัจจุบัน และการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีความรู้ที่ดี นำไปใช้ได้และก่อให้เกิดความสุขต่อชุมชน


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา
Corresponding author: 2555and2600@gmail.com

Article Details

How to Cite
คำเหมือน พ. . (2020). แนวทางการพัฒนาคุณภาพนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 58–75. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.5
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2551). คู่มือศูนย์การเรียนรู้ศีลธรรมในวัด. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา.

กรมการศาสนา. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา.

กรมสุขภาพจิต. (2556). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี : พัฒนาสุขภาพจิต.

ใจ บุญชัยมิ่ง. (2560).การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาวัดการจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยาDhammathas Academic Journal. (17) 2.115-126.

ธีรัชภัทร บัวคำศรี. (2562). เก่ง ดี มีสุข ยังไง. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562 จาก https://www.gotoknow.org/posts/204665

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท.

พรรณภา ดาวตก. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปกครองเครือข่ายระบบดูแลนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเป็นฐาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พระครูโพธิสุวรรณคุณ (มานพ จนฺทาโภ). (2559).บทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.5 (1).31-47.

พระมหาทัศนันท์ โบราณมูล. (2555). การบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

พัทธยา เนตรธรานนท์. (2550). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและเจ้าอาวาสที่มีต่อความร่วมมือในการจดัการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับวัด : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษากรุงเทพมหานครที่ใช้พื้นที่ของวัด. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

มีชัย สายอร่าม. (2555). การพัฒนาในมิติสังคมศาสตร์. วารสารสีมาจารย์. 12 : 57-60.

เริงรณ ล้อมลาย. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาคุณธรรม และจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). การบริหารงานแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพมหานคร : ทิพย์วิสุทธิ์.

สุฉิรา ม่วงศรี และวลัยพร ศิริภิรมย์.(2558). การบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในรูปลักษณ์ใหม่. ONLINE JOURNAL OF EDUCATION.10 (3).480-492.

สุปราณี เวชประสิทธิ์. (2555). การประเมินโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา.

สุรัสวดี ราชสกุลชัย. (2556). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพินทร์ สันติชัยอนันต์.(2553). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาจริยพงษ์ คำตั๋น. (2554). การปฏิบัติตนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.

Faust-Horn, K.L. (2003). Parent and Teacher Perceptions of the Relationship Between Home-School Collaboration and Student Success in the Classroom. The Graduate School, University of Wisconsin-Stout.