ทัศนคติของนักศึกษาต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 600 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ค่าสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) เมื่อกลุ่มที่ทดสอบมีความแปรปรวนเท่ากันและ Dunnett’s T3 เมื่อกลุ่มที่ทดสอบมีความแปรปรวนไม่เท่ากัน
ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติของนักศึกษาต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านแนวโน้มการแสดงพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ยิ่งไปกว่านั้น ทัศนคติรวมของนักศึกษาต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ก็อยู่ในระดับมาก ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์การซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มหาวิทยาลัย คณะ และชั้นปีที่ต่างกันมีทัศนคติต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน ในขณะที่นักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีทัศนคติต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน
* นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 90000
** คณะผู้วิจัยประกอบด้วย 1. ปวีณา พืชพงษ์ 2. วัชรคุปต์ หีมสุหรี 3. สาธิตา แกสมาน
(นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา)
ภายใต้การควบคุมของ ดร.สุธีรา เดชนครินทร์ (อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา)
Corresponding author: yuy_342@hotmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
จีรนันท์ ไวยศรีแสง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฉวีวงศ์ บวรกีรติขจร. (2560). การศึกษาการซื้อขายสินค้ากลุ่มแฟชั่นในสื่อสังคมออนไลน์. Veridian E-Journal, 10 (2), 2056-2071.
ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2552). คุณลักษณะและความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา สาขาการเป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2561). ทัศนคติและความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการส่งออกจังหวัดนนทบุรีในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12 (28), 150-162.
ตฤณธวัช วงศ์ประเสริฐ และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานเฟสบุ๊ค (Facebook) ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 3(2), 29-46.
ธนบดี จึงสง่าสม วัชรพล สิงห์เรือง วุฒิ เปลี่ยนน้อย, และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2559). ความพร้อมและทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มีต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาลัยโล จิสติกส์และซัพพลายเชน, 2 (1), 47-58.
ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธ์ วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.
ธันยนันท์ ทองบุญตา. (2549). การเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการประกอบอาชีพอิสระของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ธัญมาศ ทองมูลเล็ก และปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 114-124.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณิการ์ พุ่มจันทร์, นุชจรีย์ หง์เหลี่ยม, และพัชดาพรรณ อุดมเพ็ชร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 8(1), 27-35.
พรรณสิยา นิธิกิตติ์สุขเกษม และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2561). โมเดลความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนในโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา, วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(1), 146-161.
เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ( Social Media) ของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, 9(2), 946-956
มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2562). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2562 จาก http://grad.tsu.ac.th/stat/search_campus.jsp?lang=th
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2562). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2562 จาก http://regis2.rmutsv.ac.th/information/statistic/
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2562) จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2562 จาก http://regis.skru.ac.th/RegisWebH5/std_12561/web/facu_N.php
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิวัช จันทนาสุภาภรณ์. (2554). ทัศนคติที่มีต่อการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562 ก). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562 ข). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.
สุพาทินี เพ็งเจริญ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และสานิตย์ ฤทธิ์มนตรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วชิรสารการพยาบาล, 18(2), 63-74.
Calvin, O. Y., Isaac, O. M., Ibrahim, A. A., & Aku, S. (2018). Impact of social media on entrepreneurship development among users in Zamfara state. Journal of Economics & Finance, 2 (2), 303-328.
Pulka, B. M., & Aminu, A. A., & Rikwentishe, R. (2015). The effects of entrepreneurship education on university students’ attitude and entrepreneurial intention. European Journal of Business and Management, 7 (20), 149-157.
Pulka, B. M., Rikwentishe, R., & Ibrahim, B. (2014). An evaluation of students’ attitude towards entrepreneurship education in some selected universities in North East Nigeria. Global Journal of Management and Business Research, 14 (8), 1-8.
Rudhumbu, N., Svotwa, D., Munyanyiwa, T., & Mutsau, M. (2016). Attitudes of students towards entrepreneurship education at two selected higher education institutions in Botswana: A critical analysis and reflection. Academic Journal of Interdisciplinary Studies, 5 (2), 83-94.