ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ 3. เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและความไว้วางใจของนักศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมจำนวน 400 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล มีความแตกต่างจากเพศ
2. ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เกิดจากปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (b=0.29) การส่งเสริมทางการตลาด (b=0.20) ช่องทางการจัดจำหน่าย (b=0.10) และด้านราคา (b=0.09) ตามลำดับ สมการมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 73 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้ Y = 1.30+ 0.29 X1 +0.09 X2+ 0.10 X3 +0.20 X4
3. ทัศนคติและความไว้วางใจของนักศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย QR Code ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยเกิดจากปัจจัยด้านความไว้วางใจ (b=0.37) และทัศนคติ (b=0.26) สมการมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 69 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้ Y = 1.55+ 0.26 X5 +0.37 X6
* อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000
** อาจารย์ปิยะดา คัมภิรานนท์ อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000
ผศ.ดร. จันทนา วัฒนกาญจนะ อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000
ดร.ปาริชาติ ขำเรือง อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000
อาจารย์ ดวงรัตน์ ยิ้มตา อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000
Corresponding author : notetanatip@hotmail.com.
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2562). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2562. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562, จาก https://dept.npru.ac.th/plan/
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2559) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรืองสกุล และประสบชัย พสุนนท์. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10, 26-40.
นภัสวันต์ ชมพูนุช. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบ QR Code ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตะพงษ์. (2560). วารสาร “ไทยคู่ฟ้า” (เล่มที่ 33).[ออนไลน์] ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2561, จาก https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spmthaigov/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000368.PDF
ภาสกร ใหลสกุล. (15 สิงหาคม 2560). Internet of Things : อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ตอนที่ 1). [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2561, จาก https://nationalengineering2017.com/ index.php?modules= articles&f=view&id=112.
รวิวรรณ นันตา. (2561). การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของระบบการชำระเงินผ่าน QR Code. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรารัตน์ สันติวงษ์. (2549). ปัจจัยที่ผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารต่อการใช้บริการ E-Banking. กรุงเทพฯ: สารนิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์และองอาจ ปทะวานิช. 2546. การบริหาร การตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและ ไซเท็กซ์.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘o (ฉบับย่อ). [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2561, จาก https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
Salam, A.F. Lakshmi Iyer, Prashant Palvia, Rahul Singh. (2005). Trust in E-Commerce. Communications of the ACM, 48 (2), 72-77.
Gibson, J. (2000). Organizations, Behavior, Structure, Processes (9th ed.). New York : Mc Graw - Hill.
Kotler, P. (2003). Marketing Management : Analysis, Planning, Implementation and Control. New Jersey: Prentice - Hall, Inc.
Nelson oly Ndubisi. (2007). Relationship marketing and customer loyalty : Marketing Intelligence & Planning 25 (1). 16-22.
Robbins, S. P. (2000). Essentials of Organizational Behavior (6th ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice-Hall.
Schermerhorn, J. R. (2000). Management (7th ed). New York : John Wiley & Sons