บรรยากาศที่คำนึงถึงผู้ปฏิบัติงาน และการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐมเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2. ศึกษาถึงบรรยากาศที่คำนึงถึงผู้ปฏิบัติงาน และการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยดำเนินการเก็บพนักงานที่ทำงานในอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 ราย โดยการสุ่มแบบสะดวก วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐมมีความแตกต่างกันตามอายุ และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. บรรยากาศที่คำนึงถึงผู้ปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อ ความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ การให้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน X3 (b=0.20) ส่วนการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นเป็นที่ตั้ง X5 (b=0.23) การเป็นผู้มีสำนึกในหน้าที่ X8 (b=0.17) และ การพัฒนาตนเอง X11 (b=0.16) โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดมีความแม่นยำในการพยากรณ์ร้อยละ 69 และสามารถเขียนสมการ ความผูกพันของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม ได้ดังนี้ Y = 0.35+0.10X1+0.02X2+0.20X3*+0.02X4+0.23X5*+0.03X6+0.01X7+0.17X8*+0.07X9+0.04X10+0.16X11*
* รองศาสตราจารย์ ดร.,อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 10240
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,อาจารย์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 73170
*** นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000
Corresponding author: drchairit@hotmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จีระวุฒิ สุขผล. (2560).ความสัมพันธ์ระหว่างสวัสดิการกับความผูกพันในองค์กรตามความคิดเห็นของพนักงาน อู่ซ่อมบำรุงรถยนต์ในจังหวัดนครปฐม.วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 4 (1). 47-61.
นันทนา มาศภากร. (2561).ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์ จังหวัดราชบุรี.วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 5 (1).31-43.
นูรีมัน ดอเลาะ อนิวัช แก้วจำนงค์ อรจันทร์ ศิริโชติ. (2556).ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5 (3).110-121.
ภัทธราภรณ์ อัญชลีอำนวยพร.(2561).แนวทางการสร้างความผูกพันและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การบุคลากร โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 5 (1).14-30.
รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์. (2554) .การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร.กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
วิลาสินี เจนวณิชสถาพร (2556).ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฎิบัติการ กลุ่มบริษัทโทเรในประเทศไทย.การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการประกอบการ.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สาธิต สุวรรณประกร และสมยศ อวเกียรติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย.วารสารเกษมบัณฑิต. 17 (1).56-72.
สุนทร พิกุลหอม (2555). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อําเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล พิชญไพบูลย์. (2560).ปัจจัยเชิงเหตุและผลของความผูกพันกับองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11 (1).174-179.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons. Inc.
Esmaeili, M. R., Pirzad, A., & Jafarineshad, S. M. (2014). Organizational climate effect on organizational citizenship behavior outbreak. Reef Resources Assessment and Management Technical Paper. 43(4), 344-349.
Kahn, W.A. (1990). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work. Academy of Management Journal. 33,692-724.
Podsakoff, MacKenzie, Paine & Bachrach .(2000). Organizational citizenship behaviors: a critical review of the theoretical and empirical literature and suggestions for future research. Journal of Management. 26 (3):513-563 • DOI : 10.1177/014920630002600306..