แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พันวสา รวมทรัพย์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับส่วนประสมการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวโควตาทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ คือ เจ้าหน้าที่อุทยานที่ประจำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความตรงด้านเนื้อหาเท่ากับ 0.67 และ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.78-0.90  วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ระดับส่วนประสมทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรีมีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ และสถานภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนบุคคล ต่อเดือน สถานภาพ และภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านวัตถุประสงค์ที่มาท่องเที่ยว ด้านวิธีการเดินทางมาท่องเที่ยว ด้านสมาชิกที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว ด้านจำนวนครั้งที่มาท่องเที่ยว ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยว ด้านลักษณะความสัมพันธ์ของผู้ร่วมเดินทาง และด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีปัจจัย ส่วนบุคคลด้านเพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านสมาชิกที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว ด้านจำนวนครั้งที่มาท่องเที่ยว ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยว และด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับด้านวัตถุประสงค์ที่มาท่องเที่ยวด้านวิธีการเดินทางมาท่องเที่ยว และด้านลักษณะความสัมพันธ์ของผู้ร่วมเดินทาง
                3. แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี ในมิติผู้ให้บริการควรมุ่งการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจ มีการกำหนดราคาที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับความคุ้มค่าที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายหลากหลายช่องทาง มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงนักท่องเที่ยว มีการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว โดยการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และปลูกจิตสำนึกให้มีจิตใจในการให้บริการ        


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์  ฉิมะสังคนันท์ และอาจารย์ ดร.ดารินทร์  โพธิ์ตั้งธรรม
Corresponding author: maymiezz8036@gmail.com

Article Details

How to Cite
รวมทรัพย์ พ. (2019). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 75–90. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.29
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). สถานที่ท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www. kanchanaburi-info.com/th/sitemap.html.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

ฉันท์ชนิต เกตุน้อย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7P’s และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของพระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. 10 (2): 17-28.

นวพรรษ พันธัง. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอำเภอหัวหิน

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว .นนทบุรี : สำนักพิมพ์เฟริ์นข้าหลวง.

เพ็ญนภา เพ็งประไพ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.

สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มณีรัตน์ สุขเกษม. (2559). บทปริทัศน์หนังสือ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: การศึกษาและมุมมองใหม่. วารสารปาริชาต. 29 (2): 235-248.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2561). ความหมายของการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2561, จาก https://tourismatbuu.wordpress.com.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร:สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติจังหวัดกาญจนบุรี (2559). นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560. จาก https://kanchanaburi.nso.go.th/index.php.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. The Millennium edition. New Jersey:Prentic – Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational & Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

World Tourism Organization. (2018). Style and type of tourism. Retrieved April 16, 2018, from www.unwto.org