การศึกษาการจัดการความรู้สู่การสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

นววิช นวชีวินมัย
ชัยยุธ มณีรัตน์

บทคัดย่อ

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้สู่การสอนในสถานศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการบูรณาการความรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2560 จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการจัดการความรู้สู่การสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ระดับการจัดการความรู้สู่การสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการแสวงหาความรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการบูรณาการความรู้ และด้านการแลกเปลี่ยนความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ตามลำดับ 
                2. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ในด้านการแสวงหาความรู้ในด้านการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การบูรณาการความรู้ พบว่า ตัวแปรทั้ง 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีค่าสูง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการแลกเปลี่ยนความรู้ฯ กับการบูรณาการความรู้ และความสัมพันธ์ของแปรที่มีค่าระดับปานกลาง ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาความรู้กับการสร้างความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาความรู้กับการแลกเปลี่ยนความรู้ฯ ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาความรู้กับการบูรณาการความรู้  ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างความรู้กับการแลกเปลี่ยนความรู้ฯ และความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างความรู้กับการบูรณาการความรู้


* อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author : nawawit54@gmail.com

Article Details

How to Cite
นวชีวินมัย น., & มณีรัตน์ ช. (2019). การศึกษาการจัดการความรู้สู่การสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 256–270. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2018.36
บท
บทความวิจัย

References

อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2561). ปรัชญาของหลักสูตร. ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.grad.npru.ac.th/index.php?act=6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : ธรรมกมลการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2561) การจัดการความรู้. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561 จาก https://qa.siam.edu/images/KM_Article4.pdf.

วิทยาลัยดุสิตธานี. (2556). คู่มือการจัดการความรู้. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.dtc.ac.th/2016/images/stories/KM/KM_manual_full.pdf.

วารินทร์ รัศมีพรหม. (2542). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมคิด นาคขวัญ. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของโรงเรียนในฝัน ในจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2538). แผนหลักการปฏิรูปการฝึกหัดครูพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

สุภาภรณ์ อินทมาตย์. (2552). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Zahoric, J. A. (1995). Constructivist Teaching. Bloomington Indiana: Phi Delta Kappa Educational Foundation.