วัฒนธรรมและความผูกพันที่ส่งผลต่อความสุขในองค์การ ของพนักงานโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง

Main Article Content

ศิริจันทรา เซียงฝุง

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับปัจจัยการพัฒนาความสุขและระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง 2.เปรียบเทียบระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.ศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบ้ารุงรักษาเขื่อนแม่กลอง 4. ศึกษาปัจจัยความผูกพันในองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบ้ารุงรักษาเขื่อนแม่กลองตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในโครงการส่งน้ำและบ้ารุงรักษาเขื่อนแม่กลอง จำนวน 277 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
             ผลการวิจัยพบว่า
             1. ระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบ้ารุงรักษาเขื่อนแม่กลอง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยที่ได้รับการประเมินสูงสุดได้แก่ น้ำใจงาม
             2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบ้ารุงรักษาเขื่อนแม่กลองเรียงตามล้าดับได้แก่ ตำแหน่งงาน รายได้ เพศ อายุ ระยะเวลา การศึกษา และสถานภาพตามล้าดับ
             3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบ้ารุงรักษาเขื่อนแม่กลองเรียงตามลำดับได้แก่ วัฒนธรรมเน้นการเป็นผู้นำ วัฒนธรรมเน้นงาน วัฒนธรรมเน้นบทบาท และวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคลตามลำดับ
             4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลองเรียงตามลำดับได้แก่ ความผูกพันด้านจิตใจ และความผูกพันด้านการคงอยู่ตามลำดับ ส่วนความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ผลการวิจัยพบว่าไม่มีผลต่อระดับความสุขในองค์การของพนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง

* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : focus.s99@hotmail.com

Article Details

How to Cite
เซียงฝุง ศ. (2019). วัฒนธรรมและความผูกพันที่ส่งผลต่อความสุขในองค์การ ของพนักงานโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 45–58. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2018.20
บท
บทความวิจัย

References

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง.(2559). จำนวนสมาชิกในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง.[ออนไลน์] ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2559.จาก https://www.irrigation.rid.go.th/maeklongdam/index1.php

จินดา ตาหลวง. (2553). ความสุขในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในธุรกิจโรงแรม กรณีศึกษา : โรงแรมในเครือบริษัทแห่งหนึ่ง เขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริจรรยา บุญกล่ำ. (2554). ความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2553). องค์กรแห่งความสุข [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558 .จาก https://www.happy8workplace.com.

Allen,N.J and Meyer,J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. The Journal of occupational Psychology, 63, 1-18.

Handy, C. and Handy, E. (2006). The New Philanthropists. Random House UK.

Ma, C. Samuel, M. & Alexander, J. (2003). Factors that influence nurses’ job Satisfaction. Journal of nursing administration, 33 (5), 293-299.

Manion, J. (2003). Joy at work. Creating a positive workplace. Journal of nursing administration, 33 (12), 652-655.

Robbins S. P. , Coulter M.K. (2002). Management. (7th ed.).Cornell University. Prentice Hal.

Steers, R.M. (1991). Introduction to organizational behavior (5th.ed). Illinois : Foresman.