ส่วนประสมการตลาดและพฤติกรรมการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดในการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี 3) เปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดในการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริโภครถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ คือ พนักงานขายในโชว์รูม และผู้จัดการฝ่ายขายในโชว์รูมในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 5 โชว์รูม รวมจำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทดสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยมีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67–1.00 ความเที่ยงด้านส่วนประสมการตลาดได้ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ 0.85 ราคา 0.80 การจัดจำหน่าย 0.72 ส่งเสริมการตลาด 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อประเภทรถยนต์นั่ง ประเภทรถเก๋ง 4 ประตู ซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์การประกอบอาชีพ เลือกซื้อยี่ห้อโตโยต้า โดยผู้มีส่วนร่วมในการซื้อ คือ ตัวเอง เหตุผลที่ซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล คือ เหมาะสมกับการใช้งาน ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่ คือ 1-3 เดือน มูลค่าในการซื้อเท่ากับ 550,001-650,000 บาท และวิธีการชำระเงิน คือ เงินผ่อน ดาวน์ต่ำ ผ่อนระยะเวลาสูงสุด
2. ระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดในการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ
3. การเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดพบว่าผู้บริโภคที่มีสถานะสมรส และจำนวนสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับ ส่วนประสมการตลาดในการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน ส่วนผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ให้ความสำคัญกับ ส่วนประสมการตลาดในการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีไม่แตกต่างกัน
4. แนวทางการส่งเสริมส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี มีดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากยิ่งขึ้น ด้านราคา ควรเน้นรถยนต์เก๋ง 4 ประตู ประหยัดพลังงาน ด้านการจัดจำหน่าย ควรมีการปรับปรุงโชว์รูมให้มีความทันสมัย และสวยงาม เพื่อเป็นการดึงดูดใจลูกค้า และควรเน้นด้านการส่งเสริมการตลาดมากที่สุด ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ในสถานที่ ต่าง ๆ การโฆษณาตามสื่อทีวีและวิทยุ ประชาสัมพันธ์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การจัดแสดงสินค้านอกสถานที่ จัดโปรโมชั่น ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า มีการบริการหลังการขายที่ดีและมีขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกโชว์รูม และอบรมพนักงานขายให้มีความรู้ในผลิตภัณฑ์และการดูแลลูกค้า
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์ และ อาจารย์ ดร.สมชาย ลักขณานุรักษ์
Corresponding author : siriwanpoom2555@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
แครียา ภู่พัฒน์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ โตโยต้านิววิออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ.
จีรพัฒน์ เฉลยวิจิตร. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองของประชาชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ปารมี คำชมภู. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มลฤดี สุขสวัสดิ์. (2552). พฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในจังหวัดชลบุรี ปี 2552. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรีรัตน์ สิทธิ. (2554). อิทธิพลการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). การจัดการพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จํากัด.
ยุทธนา ธรรมเจริญ และคณะ. (2552). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ในประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์ วางแผน และควบคุมทางการตลาด หน่วยที่ 5. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). การตลาด : สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์ (1991).
สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี. (2558 ก). จำนวนรถจดทะเบียนสะสม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559, จาก https://suphanburi.dlt.go.th/statistic58_5yeardown/statistic2558/statistic2558_1at300958.pdf.
สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี. (2558 ข). จำนวนรถจดทะเบียนสะสม(เปรียบเทียบย้อนหลัง). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559, จาก https://suphanburi.dlt.go.th/statistic58_5yeardown/5y_2558/5year58_stt1.pdf.
สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี. (2558 ค). สถิติจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ป้ายแดงจำแนกตามยี่ห้อ. ค้นเมื่อ10 มีนาคม 2559, จาก https://suphanburi.dlt.go.th/statistic2558_at300958.html.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2558). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ตุลาคม - ธันวาคม 2558)(อุตสาหกรรมยานยนต์). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558, จาก https://www.ryt9.com/s/oie/2362269.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : เพียร์สันเอ็นดูเคชั่น อินโดไชน่า บรรณกิจ 1991 จำกัด.
อนุสรา ยะปัญญา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ฮอนด้าในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อิสราภรณ์ มณฑาทอง. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาด 1,500 ซีซี ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุกฤษ อุทัยวัฒนา. (2557). พฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์มือสองของลูกค้าเต้นท์รถพัฒนสรณ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cronbach, L. (1974). Essentials of psychological testing. New York : Harper & Row Publisher.
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational & Psycological Measurement : 30 (3). 607-610.