แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานประจำสู่งานวิจัยของ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

ริญญาภัทร์ พสิษฐ์กุลเวช

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาสิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยและแรงจูงใจในการทำวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2.) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.) วิเคราะห์สิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน และ 4.) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานประจำสู่งานวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 127 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ  แบ่งชั้นจำแนกตามหน่วยงาน และผู้ให้สัมภาษณ์ 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านสิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัย เท่ากับ 0.91-0.96 และด้านแรงจูงใจในการทำวิจัย เท่ากับ 0.87-0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที     การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีสิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การสนับสนุนจากหน่วยงาน เงินทุนในการทำวิจัย และสิ่งแวดล้อม วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวก และมีแรงจูงใจในการทำวิจัยอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจ คือ ความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบ และการได้รับการยอมรับนับถือ ส่วนปัจจัยค้ำจุน คือ ความมั่นคงในงาน นโยบายในการบริหาร และผู้บังคับบัญชา
                2. พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีแรงจูงใจในการทำวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหน่วยงานที่สังกัดต่างกัน มีแรงจูงใจในการทำวิจัยไม่แตกต่างกัน
                3. สิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ประกอบด้วย เงินทุนในการทำวิจัย (X2) และสิ่งแวดล้อม วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวก (X3) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน (Ytot) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ (Y'tot) =1.69 + 0.13X2  +0.45X3
                4. แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานประจำสู่งานวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร 2) การจัดโครงการฝึกอบรมเพิ่มความรู้ ทักษะในการทำวิจัยเป็นระยะและสม่ำเสมอ 3) การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำวิจัย  4)  การสนับสนุนให้มีคลินิกวิจัย มีพี่เลี้ยงงานวิจัยหรือที่ปรึกษางานวิจัย 5) การจัดเวทีหรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำวิจัย 6) การสร้างพนักงานต้นแบบการวิจัยและเครือข่ายการวิจัย 7) การผลักดันผลงานวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาและปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำ 8) การเชิดชู ชื่นชม มอบรางวัลแก่พนักงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานวิจัย 9) การสนับสนุนทุนวิจัยและประชาสัมพันธ์แหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย 10) การแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริม กำกับติดตาม ประเมินผลข้อมูลย้อนกลับผลงานวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000 ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์  ฉิมะสังคนันท์ และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์  ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : Rinyapha45@gmail.com

Article Details

How to Cite
พสิษฐ์กุลเวช ร. (2018). แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานประจำสู่งานวิจัยของ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 4(2), 89–104. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2017.19
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร, กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร. (2556). ถอดรหัสงานประจำนำสู่งานวิจัย. กรุงเทพฯ : กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร.

โกมล บัวพรหม. (2553).แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต3 ภาคนิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วิจารณ์ พานิช.(2553). การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ช่อลดา วิชัยพาณิชย์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ธนกฤต วัฒนากูล.(2551).ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด.(2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรา บุญมานำ และสมควร ทรัพย์บำรุง.(2552). รายงานวิจัยเรื่องแรงจูงใจปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2551. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กองการเจ้าหน้าที่และนิติกร.(2558).รายงานข้อมูลบุคลากรมหาวิยาลัยราชภัฏนครปฐม ปี 2558. กองการเจ้าหน้าที่และนิติกรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รุ่งนภา อินภูวา. (2551). การศึกษาแรงจูงใจในการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วนิดา พิงสระน้อย.(2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยี. การวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

สมเจตน์ นาคเสวี และคณะ (2553). เจตคติต่อการวิจัยและปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัยของบุคลากรวิทยาลัยอิสลามศึกษาศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16 (3): 514-532.

สิริรัตน์ หิตะโกวิท. (2551). ปัจจัยของความสำเร็จในการทำวิจัยของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ :แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครังที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวรรณ พรมเขต. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, วารสารสาระคาม 4, (2): 33-34.

สุวิมล ติรกานันท์.(2557). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jacobs, R. L. & McClelland, D. C. (1994). Moving up the corporate ladder: A longitudinal study of the leadership motivation pattern and managerial success in women and men. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 46 (1), 32-41.

Herzberg. F. (1975). The motivation to work (2nd ed.). NY : Johns Wiley & Sons.