สัมฤทธิ์ผลของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสัมฤทธิ์ผลของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดกาญจนุบรี (2) เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ผลของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดกาญจนุบรี ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ในโครงการOTOP จำนวน 9 รายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ OTOP จ.กาญจนบุรีจำนวน 5 รายโดยเลือกแบบเจาะจง และศึกษาจากเอกสารจากหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานวิจัยและการประเมินผลของหน่วยงานราชการ จำนวน 5 แห่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ส่วนการวิจัยในเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามโดยเก็บจากประชากรในชุมชนหมู่บ้าน OTOP ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า
1. สัมฤทธิ์ผลของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้ (1) สัมฤทธิ์ผลด้านการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน ผลการดำเนินโครงการ ทำให้ประชากรที่ศึกษาเกิดการสร้างงานและมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.34 เพิ่มขึ้น 1 เท่า จากรายได้เดิมและเปลี่ยนจากอาชีพเดิมที่ประกอบอยู่และอาชีพแม่บ้าน เกษียณ หรือว่างงาน มาเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นอาชีพหลัก และยังคงประกอบอาชีพหลักอาชีพเดิม แต่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นอาชีพเสริมรายได้ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น (2) สัมฤทธิ์ผลด้านการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า คนในชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกัน และมีการประชุมกันในแต่ละเดือน โดยผู้ประกอบการมีการนำแรงงานที่เป็นคนในชุมชนมาเป็นแรงงานในการผลิตทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการให้พึ่งพาตนเองได้ การประชุมหารือถึงปัญหาต่าง ๆ ของโครงการร่วมกัน (3) สัมฤทธิ์ผลด้านการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า การผลิตผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้นและ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการคิดขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มาจากที่อื่นมาผลิตนั้นใช้วัตถุดิบภายในชุมชน มากกว่า50% มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อีกทั้งโครงการมีส่วนช่วยให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมทำให้เกิดการสืบสานวัฒนธรรมของชุมชน (4) สัมฤทธิ์ผลด้านการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้เป็นเจ้าของกิจการและแรงงานที่ใช้ในการดำเนินการผลิต ส่วนใหญ่เป็นสตรีโดยมีการสร้างเครือข่าย ด้วยการรวมกลุ่มของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์และมีการร่วมกันทำกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการและมีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ผลของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สำคัญได้แก่การวางนโยบายเพื่อยกมาตรฐานการครองชีพให้ดีขึ้น การทำให้ชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ การทำให้ชาวบ้านรู้จักวิธีการทำธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
* นักศึกษาปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170 ภายใต้การควบคุมของ ว่าที่ร.ต.ดร.อนันต์ โพธิกุล
Corresponding author : bamee1977@ hotmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2545). เอกสารดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
จีระ กาญจนภักดิ์ และพนอจิต เหล่าพูลสุข. (2541). องค์ความรู้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบพอเพียง. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : หจก.โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล และ นิทัศน์ คณะวรรณ. (2545). การตลาด 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ SMEs. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2550). ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธนาวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2553). การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี.คณะเทคโนโลยีสังคม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
ภาสกร นันทพานิช กรรณิการ์ บังเกตุ และศาครินทร์ ดวงตะวัน. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ และ พลาพรรณ คำพรรณ์. (2549). โครงการศึกษาชุมชนเข้มแข็งกระบวนการสร้างสรรค์คืนพลังสู่ชุมชน : หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. รายงานวิจัย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อารยา อึงไพบูลย์กิจ และ ลภวัน ทองนำ. (2556). การประยุกต์หลักการจัดการธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. ฉบับพิเศษ , 12-19.