พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือ ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

ต้วน หยิน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  2) ศึกษาระดับของส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  3) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมต่อการส่งเสริมส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จํานวน 377 คน ได้มาโดยการสุ่่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามคณะ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน  การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
                1. พฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมส่วนใหญ่ คุณสมบัติที่เลือก คือ ฟังก์ชั่นการใช้งาน วัตถุประสงค์ในการซื้อ คือ เพื่อติดต่อสื่อสาร ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ คือ ครอบครัว โอกาสในการซื้อคือ ในช่วงเวลาการซื้อที่ไม่แน่นอน สถานที่ที่ซื้อ คือ ร้านขายในศูนย์การค้าแหล่งการแสวงหาข้อมูล คือ โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต และระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อ คือ มากกว่า 1 เดือน 
                2. ระดับของส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
                3. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มี เพศ อายุ และรายได้ครอบครัวต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือ โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีรายรับต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่ศึกษาในคณะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดในซื้อโทรศัพท์มือถือ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                4. การส่งเสริมส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือ ควรมีการพัฒนาโทรศัพท์มือถือให้มีคุณภาพที่ดีมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง กำหนดราคาให้มีความเหมาะสมกับคุณภาพของโทรศัพท์มือถือ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีมากขึ้นพัฒนาเรื่องระยะเวลาของการรับประกันสินค้าให้มากกว่า 1 ปี และรับประกันความเสียหายของเครื่องในทุกกรณี


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ โสรัจ กายบริบูรณ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย 
Corresponding author : duanyin421@hotmail.com

Article Details

How to Cite
หยิน ต. (2018). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือ ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 4(1), 19–32. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2017.3
บท
บทความวิจัย

References

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2557). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม : คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ฐานิศา มณะโส และเทวี พึ่งชื่น. (2556). การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับซัมซุง (Samsung) ของผู้บริโภคในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. จุลนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไทยพีบีเอสออนไลน์. (2557). แนวโน้มขยะโทรศัพท์ล้นเมือง. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2558 จาก https://news.thaipbs.or.th.

ธนัชพร จินดามณีโรจน์ และปรียานุช อภิบุญโยภาส. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อประเภทของแอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีระวงศ์ อัมพวันวงศ์. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริเพ็ญ มาบุตร. (2555). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ทรูวิชั่นส์ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. (2557). ปัญหาการใช้โทรศัพท์ของนักศึกษา. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558 จาก https://isdc.rsu.ac.th.

Blythe, J. (2008). Consumer behavior. London : Thomson Learning.

Hui, L. (2007). Effect of mobile phone brand associations on consumer behavior tendency. Thesis in Management. Master of Business Administration. Hunan normal University.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2004). Principles of marketing (10ed.). Upper Saddle River, N.J.: Pearson Prentice Hall.