กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ตราสินค้าไทย : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ Hermes

Main Article Content

เซปิง ไชยสาสน์

บทคัดย่อ

                ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและการบริหารจัดการของผลิตภัณฑ์ Hermes และ (2) นำแนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ Hermes เป็นตัวแบบมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องหนังไทยในตลาด ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้นำเข้าหรือร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ Hermes จำนวน 4 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าหรูหรา จำนวน 6 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ที่มีความนิยมและใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hermes จำนวน 6 คนกลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเครื่องหนังไทย จำนวน 6 คน และกลุ่มที่ 5 กลุ่มนักล่าจำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 25 ราย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากลูกค้าที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้า Hermes จำนวน 128 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบ Snow ball และตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยวิธีคำนวณหาค่า IOC และทดสอบความน่าเชื่อถือด้วยการหาค่าสหสัมพันธ์ด้วยวิธีของครอนบัช
                ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า Hermes มีกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง และการสร้างแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญมากในการทำธุรกิจ ถ้าสินค้าไทยต้องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาด ต้องสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ เช่นรูปแบบ การตัดเย็บ เป็นต้น และต้องมีความต่อเนื่องในการสร้างแบรนด์ รวมถึงสร้างเรื่องราวของแบรนด์ ประชาสัมพันธ์ที่เห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจน ทั้งรูปแบบ คุณภาพ มาตรฐานผู้ประกอบการต้องหาตลาดใหม่ที่จะเปิดตัวในขณะที่ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์ Hermes จากอิทธิพลรวม เกิดจากการบริหารจัดการ คุณค่า และอัตลักษณ์จากตราสินค้า ความไว้วางใจของลูกค้า และกลยุทธ์การสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


* ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ ดร.ชัยพร ธนถาวลาภ
Corresponding author : xeping.chaiyasarn@gmail.com

Article Details

How to Cite
ไชยสาสน์ เ. (2018). กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ตราสินค้าไทย : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ Hermes. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2(1), 80–96. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2015.15
บท
บทความวิจัย

References

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). ตารางเผยแพร่สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย (รายเดือน). 2557-2558. สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จี พี ไซเบอร์พรินท์.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มิชชั่น มีเดีย.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2007). Marketing and introduction. (8th ed.).New Jersey : Pearson Education.

AstridWendlandt. (2012). France's Hermes says not feeling any slowdown. REUTERS. (2012 September 30).

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. Experimental Designs, New York : Cuyno,

Debbie Millman. (2012). Brand Bible: the complete Guide to Building, Designing, and Sustaining Brands. RocksportPublishers.

Dwyer, F. R., & Tanner, F. J. (2009). Business marketing: Connecting strategy, relationships, and leaning. Retrieved February 23, 2014, from. h t t p : / / w w w . e b o o k b y t e . c o m / a d m i n / u p l o a d / B u s i n e s s _ Marketing-Connecting_Strategy_Relationship_Learning%20 (www.eBookByte.com).pdf.

Interbrand. (2011) Best global brands, creating and managing brand value.

Kevin Budelmann, Yang Kim, Curt Wozniak, (2009). Essential Elements for Brand Identity : 100 Principles for Designing Logos and Building Brands (Design Essentials). Rockpot Publishers.

Kotler, P, Armstrong,G, Saunders,J. and Wong.V. (1996). Principles of Marketing. The European Edition, Prentice-Hall, Hemel Hempstead.

Margaret M. Perlis. (2012). Steps To Building An Enduring Brand : Lessons From Hermes. Forbes. October 11, 2012.

Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 58, 20-38.