การแก้ไขปรับปรุงประมวลรัษฎากรและอนุบัญญัติเพื่อสร้างความสมัครใจ ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย

Main Article Content

พิชญะ อุทัยรัตน์

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาแนวทางปรับปรุงระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้ผู้เสียภาษีเกิดความยินยอมเสียภาษีให้รัฐเพิ่มมากขึ้นปัจจัยหลักในการศึกษานี้ คือประมวลรัษฎากร และอนุบัญญัติที่ใช้ในการบังคับจัดเก็บภาษีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมีประวัติการเสียภาษีสม่ำเสมอทุกปีภาษีจำนวน 30 คนและส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การใช้แบบสอบถามกับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั่วประเทศจำนวน 730 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
                เมื่อนำผลการศึกษาเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณมาพิจารณาร่วมกันแล้วพบว่า ผู้เสียภาษีต้องการให้มีการปรับปรุงปัจจัยหลักในการบริหารจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายด้านตามลำดับคือ ด้านประมวลรัษฎากร และอนุบัญญัติที่ใช้บังคับจัดเก็บภาษี ผู้เสียภาษีต้องการให้ยกเลิกหน่วยภาษีพิเศษประเภทคณะบุคคล ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภาษีการประเมินภาษี บทกำหนดโทษ ระบบการอุทธรณ์ภาษี และระบบการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี เพื่อให้การบริหารจัดเก็บภาษีเกิดความโปร่งใส เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีและมีประสิทธิภาพในการจัดหารายได้ให้รัฐมากขึ้น
                ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า รัฐควรปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากรและอนุบัญญัติตามผลการวิจัยนี้ เพื่อให้ประชาชนสมัครใจยินยอมเสียภาษีให้รัฐเพิ่มมากขึ้นโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกระบบการบริหารจัดเก็บภาษีที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี คือ สภาพการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง ตลอดจนถึงการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของโลกพร้อมกันไปด้วย


* อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ,ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)
Corresponding author : pichaya.ut@gmail.com

Article Details

How to Cite
อุทัยรัตน์ พ. (2018). การแก้ไขปรับปรุงประมวลรัษฎากรและอนุบัญญัติเพื่อสร้างความสมัครใจ ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2015.10
บท
บทความวิจัย

References

Allingham, M., & Sandmo, A. (1972). Income Tax Evasion: A Theoretical Analysis J. Public Econ 1,323-338. Retrieved January 15, 2013 from https://bora.nhh.no/bitstream/2330/967/1/dp2004-31.pdf.

Becker, G. S. (1968). Economic theory of criminal behavior. Retrieved May 2, 2013 from https://www.cep.oxfordjournals.org/cgi/reprint/XIII/4/72.pdf.

Brown, R. E., & Mazur, M. J. (2003). The national research program : IRS’ new approach to measuring taxpayer compliance. Retrieved October2, 2013 from www.iadb.org/INT/Trade/1_english/4_ SpecialInfo/ Conference/2002/d_Jun1102-Tax-Compliance/Mazur.pdf.

Easton, D. (1971). The political system : An inquiry into the state of politicalscience. New York : Alfred A. Knopt.

Fiedler, F. E. (1967). Fiedler's contingency theory. Retrieved June 2, 2013 from https://www.leadership-central.com/fiedler's-contingency-theory.html#ixzz21RwQFUbY.

Gagne, R. (1985). The conditions of learning (4th ed.). New York : Holt, Rinehart & Winston.

Musgrave, R. A. (1989). Public finance in theory and practice. New York : McGraw-Hill.

Petty, W. (1899). A treatise of taxes and contributions. London : Cambridge University Press.

Plumley, A. H. (1996). The determinants of individual income tax compliance : Estimating the impacts of tax policy, enforcement, and IRS Responsiveness. Retrieved Jury 12, 2013, from https://www.ssc. sagepub.com/cgi/content/refs/24/4/411.

Sandmo, A. (2004). The theory of tax evasion : A retrospective view. Norwegian School of Economics and Business Discussion Paper 31/04, Administration. Retrieved January 2, 2013 from www.allbusiness.com/personal-finance/individual-taxes/867564-1.html-124k.

Sarason, I. G., & Sarason, B. R. (1985). Social support : Theory. Research and Applications Washington, University of Washington.

Smith, A. (1776). An inquiry into the nature and causes of the wealth of nation. New York : Great Minds Series.

Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. New York : John Wiley & Sons.

Webber, C., & Wildavsky, A. (1986). A history of taxation and expenditure in the western world. New York : Simon and Schuster.

Yitzhaki, S. (1974). A note on income tax evasion: A theoretical analysis. Journal of Public Economics 3.

Zeithaml, V. A., & Bitner, J. M. (1996). Service marketing. New York : McGrew-Hill.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivery quality service : Balancing customer perceptions and expectations. New York : The Free Press.

Zolo, D. (2007). The rule of law : A critical reappraisal. New York : Springer.