การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของนักศึกษา และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ทำการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 353 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33
2. ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39
3 ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .558 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความฉลาดทางอารมณ์ที่มีความสัมพันธ์สูงสุด ได้แก่ การจูงใจตนเอง รองลงมา คือ การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นและการตระหนักรู้ในตนเองและทักษะทางสังคม ตามลำดับ
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
** อาจารย์ประจำสาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
*** อาจารย์ประจำสาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Corresponding author : jsrichompu@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมสุขภาพจิต. (2550). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี : สํานักพัฒนาสุขภาพจิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2556). วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2556. จาก https://www.npru.ac.th/info/index2.php.
วัฒนา อ่อนแก้ว.(2554). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Goleman, Daniel. (1998). What with emotional intelligence. New York : Bantam Books.
Mayer, J. D. & Salovey, P. (1997). What is emotional intelligence? In P. Salovey & D. Sluyter (Eds). Emotional development and emotional intelligence: Implications for educators (pp. 3-31). New York: Basic Books.
Organ, Dennis W. and Thomas S. Bateman. (1991). Organizational Behavior. (4th ed.). Boston : Irwin, Inc.
Yamane,T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3nd ed.). New York : Harper & Row.